การเสริมสร้างการฟื้นคืนทางอารมณ์ของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ด้วยรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการ
คำสำคัญ:
การปรึกษาเชิงบูรณาการ, การฟื้นคืนทางอารมณ์, สถานการณ์ความไม่สงบ, จังหวัดชายแดนใต้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการที่มีต่อการฟื้นคืนทางอารมณ์ของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่ งบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรคือนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ จาก 4 มหาวิทยาลัย โดยผู้วิจัยดำเนินการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เนื่องจากนักศึกษาโดยรวมมีคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์ตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา จึงพิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบ เพื่อใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการ ซึ่งประกอบไปด้วย 1) รูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการรายบุคคลโดยใช้ทฤษฎีการปรึกษาพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเป็นฐาน ดำเนินการจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที 2) รูปแบบการปรึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ดำเนินการจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคโดยมีทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามเพิ่มขึ้นกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเน้นทางออกระยะสั้น มีค่าเฉลี่ยคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามเพิ่มขึ้นกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคโดยมีทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมเป็นฐานมีคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม (F = 50.076) 4) นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเน้นทางออกระยะสั้น มีคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม (F =30.742)
References
กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2559). การเสริมสร้างความหยุ่นตัวของนักเรียนวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวด้วยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 12 (2) , หน้า 198-212.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). เด็กใต้เสี่ยงป่วย “จิตเวช” สูง!!. ค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/38865--เด็กใต้เสี่ยงป่วย“จิตเวช”สูง%20!!.html.
Bernard, M. E. (2002). Emotional Resilience: Implications for You Can Do It! Education Theory and Practice. Retrieved December 11, 2018, from http://www.youcandoiteducation.com/reflectionsonemotional_files/ReflectionsOnEmotional.pdf
Bernard, B. (2004). Resiliency: What we have learned. San Francisco, CA: West Ed.
Brenner, E. M., & Salovey, P. (1997). Emotion regulation during childhood: Developmental, interpersonal, and individual considerations. In P. Salovey, & D. J. Sluyter (Eds.), Emotional development and emotional intelligence: Educational implications (pp.168-192). New York: Basic Books.
Corey G. (2015). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. 9^{th} ed. United States of America. Pacific Grove, CA: Brooks/ Cole.
De Shazer, S. (1988). Clues: Investigating solutions in brief therapy. New York: W. W. Norton & Company.
Landy, S. (2002). Pathways to competence: Encouraging healthy social and emotional development in young children. Baltimore, Maryland: Paul H. Brookes.
Lazarus, R. (1999). Stress and emotion: A new synthesis. New York: Springer.
Norcross, J. C., & Beutler, L. E. (2000). A prescriptive eclectic approach to psychotherapy training. Journal of Psychotherapy Integration, 10, pp.247– 261.
Rutter, M. (2007 a). Implications of resilience concepts for scientific understanding. Annals of the New York Academy of Sciences, 1094(1), pp.1-12.
Sklare, G. B. (2005). Brief counseling that works: A solution-focused approach for school counselors and administrators. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Stallard, P., Simpson, R. N., Anderson, S., & Carter, T. (2005). An evaluation of the FRIENDS programme: A cognitive behaviour therapy intervention to promote emotional resilience. Archives of Disease in Childhood, 90 (10), pp.1016-1019.
Winer, J.B., Brown, R.D., & Michels M.K. (1991) Statistical principles in experimental design. (3^{rd} ed.). New York: McGraw-Hill.
Zahn-Waxler, C., Cole, P. M., Richardson, D. T., Friedman, R. J., Michel, M. K., & Belouad, F. (1994). Social problem solving in disruptive preschool children: Reactions to hypothetical situations of conflict and distress. Merrill-Palmer Quarterly, 40 (1), pp.98-119.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว