การทดลองเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกองทุนสารองเลี้ยงชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยใช้การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งนำกระบวนการเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรมและกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการทดลองเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่พนักงานประจำสานักงานใหญ่ของบริษัทปิโตรเคมีแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่อยู่ในระดับพนักงานปฏิบัติการ จำนวน 24 คน ซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานจากสำนักกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายบริหารและจัดหา ฝ่ายบริหารงานขายและการตลาด และฝ่ายประสานงานธุรกิจ โดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบเลือกเฉพาะอย่าง (Selective Sampling) และมีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 8 คน โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มทดลอง ทั้งนี้ มีการประเมินประสิทธิผลทางด้านการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังจากการเรียนรู้ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิง โดยใช้ T-Test Dependent และ T-Test Independent
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการความรู้มีประสิทธิผลในการเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับกองทุนสารองเลี้ยงชีพมากกว่ากระบวนการเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรม ซึ่งทั้ง 2 กระบวนการเรียนรู้ทาให้กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เพิ่มขึ้น โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ผ่านการจัดการความรู้ (กลุ่มที่ 3) มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังจากการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรม (กลุ่มที่ 2) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ใด ๆ นั้น มีระดับความรู้ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
Article Details
References
2. Chanchatrirat, S. (2014). Thais do not know about money. Retrieved January 19, 2016, from https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1398327154
3. Chatwiroj, B. (2007). The development of a training course for teachers by knowledge management process to enhance English writing teaching skill for primary education level. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 13(2), 33-49.
4. Hackett, P. (2008). Training Practice (7th ed.). London: Chartered Institute of Personnel and Development.
5. Handy, S. A., and Polimeni, R. S. (2015). Engaging Students-Use of active learning activities to enhance student learning in an introductory managerial accounting course. Journal of Applied Research for Business Instruction, 13(3), 1-8.
6. Hideo, T. I. (1999). Implications of gestalt theory and practice for the learning organization. The Learning Organization, 6(2), 63-69.
7. Martin, B. O., Kolomitro, K., and Lam, T. C. M. (2014). Training methods: A review and analysis. Human Resource Development Review, 13(1), 11-35.
8. National Statistical Office and Program on Social Change with Using Information Culture. (2015). Saving for retirement…Are you ready. Retrieved December 9, 2015, from https://www.npithailand.com/sites/default/files/Saving.pdf
9. Nonaka, I., Toyama, R., and Konno, N. (2000). SECI, Ba and leadership: a unified model of dynamic knowledge creation. Long range planning, 33(1), 5-34.
10. Phasukyud, P. (2007). Knowledge Management (KM) on enable LO (2nd Ed.). Bangkok: Yaimai.
11. Pinsai, P. (2014). Investment (for Retirement) with saving. Retrieved July 8, 2015, from https://www.thaipvd.com/content_th.php?content_id=00466
12. Skinner, B. F. (1953). Science and Human Behavior. New York: Macmillan.
13. Watthanakuljaroen, T. (2011). Development of distance training package on information communication and technology used in distance education. Retrieved July 8, 2015, from https://ird.stou.ac.th/dbresearch/fDetail.php?fID=25