แบบจำลองอุปสงค์การท่องเที่ยวเกาะล้านเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจเป็นการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นทางภาคเศรษฐกิจ โดยการคาดการณ์ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนและเตรียมตัวรับมือหรือกำหนดนโยบายที่จะลดความสูญเสียจากวิกฤตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการประมาณอุปสงค์การท่องเที่ยวเพื่อใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์การเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ครอบคลุมในส่วนของกรอบแนวคิดในการวิจัยและการศึกษาเชิงประจักษ์ กรณีศึกษาเกาะล้าน โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2558 รวมทั้งสิ้น 60 เดือน และนำมาวิเคราะห์อุปสงค์การท่องเที่ยวจากการประมาณแบบจำลองทางเศรษฐมิติด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด 3 ชั้น (3SLS)
ผลการศึกษาอุปสงค์การท่องเที่ยวเกาะล้านที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวที่เกาะล้านที่ ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของไทย ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาประเทศไทย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะล้านในเดือนก่อนหน้า วิกฤตการณ์ทางการเมือง และฤดูกาล ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยเปรียบเทียบไทย-โลก อัตราราคาห้องพักเฉลี่ย (ดอลล่าร์สหรัฐ) ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง วิกฤตการณ์น้ำท่วม วิกฤตการณ์ทางการเมือง และฤดูกาล
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558-2560. (Online).
http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114, 4 ตุลาคม 2558.
จุฑารัตน์ หนูสุวรรณ. (2558). ความชำนาญพิเศษด้านการท่องเที่ยวในระดับจังหวัดของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 2(1), 95 – 110.
ชุติมา อุ่ยประเสริฐ. (2556). แบบจำลองสมการโครงสร้างของอุปสงค์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). ข้อมูลดัชนีการลงทุนภาคเอกชน, มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Online). www2.bot.or.th/statistics, 10 มีนาคม 2559.
ปราณี ทินกร และ พีระ เจริญพร. (2545). การศึกษาดัชนีชี้นำภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย. รายงานในโครงการประเมินผลการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรม. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม, มกราคม 2545.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. (2555). เศรษฐมิติว่าด้วยการท่องเที่ยว. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. (2556). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการท่องเที่ยว. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เมธา ชำนิ. (2544). แบบจำลองอุปสงค์ของการท่องเที่ยว: ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้จากนักท่องเที่ยว ต่างชาติของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชัย เบญจชย. (2549). การบริหารจัดการป่าชุมชนและการพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
สมศจี ศิกษมัต และนภดล บูรณะธนัง. (2543). ระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจ. เอกสารประกอบการประชุมและสัมมนาทางวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2543. ธนาคารแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2558. (Online). http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/economic/eco_state/4_58/
PressEngQ4-2015.pdf, 5 มีนาคม 2559.
Allen, D. and Yap G. (2009). Modelling Australian Domestic Tourism Demand: A Panel Data Approach. Working Paper 0910. School of Accounting, Finance and Economics, Faculty of Business and Law, Edith Cowan University.
Clayton, A. (2002). Strategies for Sustainable Tourism Development: the Role of the Concept of Carrying Capacity. Social and Economic Studies, 51(1), 61–98.
Croce V. (2016). Can tourism confidence index improve tourism demand forecasts?. Journal of Tourism Futures, 2(1) , 6-21.
Crouch, G.I. (1994). The Study of International Tourism Demand: A Review of Findings. Journal of Travel Research, 33(1), 41-54.
Min C. (2013). Instrumental Variable Estimation of Tourism Demand: Comparing Level versus Change-rate Models. International Review of Business Research Papers, 9(3), 114 – 126.
Song, H. and Li, G. (2008). Tourism Demand Modelling and Forecasting–A Review of Recent Research. Tourism Management, 29(2), 203-220.
Konovalova A. and Vidishcheva E. (2013). Elasticity of Demand in Tourism and Hospitality. European Journal of Economic Studies, 4(2), 84-89.
Stabler M., A. Papatheodorou and M. Sinclair. (2009). The Economics of Tourism. (Online). https://books.google.co.th/books?id=IciLAgAAQBAJ&printsec=frontcover&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v=onepage&q&f=false, May 5th 2016.
Vencovska J. (2014). The Determinants of International Tourism Demand. Faculty of Social Sciences, Institute of Economic Studies, Charles University in Prague.