CORAL REEF ECOSYSTEM CONSERVATION BEHAVIORS OF SNORKELERS IN TRANG

ผู้แต่ง

  • rusrawee lopetch -

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การอนุรักษ์, ระบบนิเวศแนวปะการัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการัง
ของนักท่องเที่ยวดำน้ำตื้น และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการัง
ของนักท่องเที่ยวดำน้ำตื้น ในพื้นที่จังหวัดตรัง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว
ชาวไทยที่เดินทางมาดำน้ำตื้น ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา ได้แก่ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และ เปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีของ Scheffé

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการังในระดับสูง
ร้อยละ 89.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการัง พบว่า
อาชีพแตกต่างกัน การให้คุณค่า ความรู้ และทัศนคติในการอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการัง มีพฤติกรรม
การอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยคือ ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศแนวปะการัง เน้นผ่านทางช่องทางออนไลน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องการอนุรักษ์ และผลกระทบต่อระบบนิเวศแนวปะการัง จากการใช้ประโยชน์การท่องเที่ยวทางทะเล การบังคับใช้กฎหมายยังไม่รัดกุม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจน เกี่ยวกับการละเมิด และทำลายระบบนิเวศแนวปะการัง

 

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (19 เมษายน 2565). แนวปะการัง. คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. https://km.dmcr.go.th/c_3

คนึงนิตย์ ลิ่มจิรขจร, ศุภพร เปรมปรีดิ์, บารณี บำรุง, ชุติมา ชุมมิ่ง, จักรกฤษ วิศพันธ์, พัชรี ฤกษ์งานดี และ

เอกนรินทร์ รอดเจริญ. (2565). องค์ประกอบสกุลของปะการังแข็งและ การประเมินสถานภาพแนวปะการัง บริเวณ เกาะกระดาน และ เกาะเชือก จังหวัดตรัง. PKRU SciTech Journal, 6(1), 47-58.

เครือวัลลิ์ นนทะเสน. (2557) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของประชาชนตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2014.908

จรินทร์พร จุนเกียรติ และ คนางค์ คันธมธุรพจน์. (2563). พฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองของประชาชน

ในตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. วารสาร สห ศาสตร์, 20(2), 152-164.

จุฑาธิป ถิ่นถลาง. (2558). ความรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน : กรณีศึกษาอําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล). Digital Research Information Center . https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/289588

ธนินทร์ สังข์ดวง. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวดำน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว และ ธนกฤต สังข์เฉย. (2561). การ ส่งเสริม การ อนุรักษ์ ทรัพยากร ป่า ไม้ ใน ระดับ ท้องถิ่น: กรณี ศึกษา อำเภอ อู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี. Thai Journal of Forestry, 38(1), 112-121.

นันทพร ชูจันทร์ (2552) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา เกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ . https://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/340/10/Unit%205.pdf

ธรรมศักดิ์ ยีมิน, มาฆมาส สุทธาชีพ และ สิทธิพร เพ็งสกุล. (2562). การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำหรับกิจกรรมดำนาลึกและน้ำตื้นในจังหวัดชุมพร: แผนงานวิจัย: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

มัตฑิกา แดงแย้ม. (2560). ฤดูกาลและพื้นที่ในการเกิดโรคของปะการังบริเวณแนวปะการังเขตน้ำตื้น

ฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

สำนักบริหารพื้นที่อนุรัษ์ที่5 (นครศรีธรีรรมราช) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2565)

แผนการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม พ.ศ. 2566-2570

Nestor, et al., (2018). Impact of snorkelers on shallow coral reefs in the Rock Island Southern Lagoon. PICRC Technical Report 17-04).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-10

How to Cite

lopetch, rusrawee. (2025). CORAL REEF ECOSYSTEM CONSERVATION BEHAVIORS OF SNORKELERS IN TRANG. วารสารสหศาสตร์, 24(2), 20–31. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/271598