เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมาวารสารสหศาสตร์
เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวทางการจัดทำวารสารอยู่ภายใต้ฐานคิดเรื่องการรวมหน่วยความรู้ ซึ่งจะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ใช้ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจริงและทฤษฎีต่างๆ ในความหลากหลายมิติของสาขาวิชาต่างๆ เพื่อสร้างพื้นฐานของเนื้อหาทางวิชาการในการอธิบายร่วมกัน ด้วยเหตุนี้วารสารฉบับนี้จึงใช้ชื่อว่า “สหศาสตร์” หมายถึง การเสนอศาสตร์ต่างๆ ร่วมกันอย่างเป็นระบบ อันเป็นธรรมชาติของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พยายามที่จะรวมความเหมือนบนความแตกต่างของวิชาการด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทางสังคม” 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของนักวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย
2. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3. เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบของวารสารวิชาการ
4. เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
5. เพื่อให้เป็นเอกสารประกอบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

ประเภทบทความ
1. บทความวิชาการ
2. บทความวิจัย

การนำบทความไปใช้ประโยชน์
วารสารสหศาสตร์ไม่สงวนสิทธิ์ในการนำบทความไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

กระบวนการประเมิน
บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน และเป็นแบบ Double blinded และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่

ระยะเวลาการตีพิมพ์
วารสารสหศาสตร์ออกปีละ 2 ฉบับ ตามปีปฏิทิน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม ของทุกปี

รูปแบบการตีพิมพ์วารสาร
ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)

ระเบียบการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหศาสตร์
1. เป็นบทความทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน
2. ความยาวไม่เกิน 12 หน้า เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด (Microsoft Word) บนกระดาษขนาด A4 ระยะขอบตามที่โปรแกรมกำหนดโดยปริยาย (default) ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 pt เว้นช่วง 1 บรรทัด (single-spacing)
3. ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบบทความแต่ละบทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 1 หน้า และต้องมีชื่อนามสกุลผู้แต่ง พร้อมด้วยตำแหน่งวิชาการ
4. ในบทคัดย่อ ที่ชื่อนามสกุลผู้เขียนทุกคน ใช้เครื่องหมายลำดับเลข (1, 2, 3,..) ทำเชิงอรรถท้ายหน้า (footnote) เพื่อระบุตำแหน่งและหน่วยงาน
5. ในบทความ ที่ชื่อนามสกุลผู้เขียนทุกคน ใช้เครื่องหมายลำดับเลขทำเชิงอรรถท้ายเรื่อง (endnote) เพื่อระบุตำแหน่งและหน่วยงาน
6. ถ้ามีกิตติกรรมประกาศ (acknowledgment) (เช่น แหล่งทุน) ให้เขียนไว้ท้ายบทความ ก่อนที่จะขึ้นในส่วนบรรณานุกรม
7. การระบุแหล่งอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้วิธีการอ้างแทรกตามระบบ APA
8. การเขียนบรรณานุกรมใช้ระบบ APA (สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมได้ใน shorturl.at/rsuPW)
9. ถ้ามีเชิงอรรถอธิบายเนื้อหาในเนื้อเรื่อง ให้ใช้ระบบเชิงอรรถท้ายเรื่อง (endnote) โดยทำเชิงอรรถด้วยเครื่องหมายลำดับเลข (1, 2, 3,..)
10. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนต้นฉบับพิมพ์และแผ่นบันทึกข้อมูล ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้กองบรรณาธิการอาจขอให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาและ/หรือรูปแบบบทความก่อนการตีพิมพ์
11. ส่งไฟล์ต้นฉบับ (Microsoft Word) ที่ E-mail: [email protected]
12. ผู้เขียนบทความจะได้รับการติดต่อกลับเพื่อการแจ้งเนื้อหาการปรับปรุงบทความ หรือ เพื่อแจ้งผลการประเมินภายในเวลา 1-2 เดือน