ปัญหาการไม่ชำระค่าบริการโรงพยาบาลของผู้ป่วยสัญชาติพม่าและลาว ในโรงพยาบาลชายแดนทางภาคเหนือ
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยสัญชาติพม่าและสัญชาติลาว, ไม่ชำระค่าบริการโรงพยาบาล, ภาระการเงินของโรงพยาบาล, ประกันสังคม, ประกันสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ปัญหาการไม่ชำระเงินค่าบริการของผู้ป่วยสัญชาติพม่า[1]และสัญชาติลาว[2]แก่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 2) สาเหตุการไม่ชำระค่าบริการของผู้ป่วยสัญชาติพม่าและสัญชาติลาวแก่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 3) การบริหารจัดการของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ต่อปัญหาการไม่ชำระค่าบริการของผู้ป่วยสัญชาติพม่าและสัญชาติลาว วิธีการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาล ระหว่างปี 2554-2558 การสอบถามและการสังเกต ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการสอบถามผู้ป่วยที่ไม่จ่ายค่าบริการรักษาจำนวน 261 คน สัมภาษณ์ผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่การเงิน จำนวนรวม 9 คน ผลการวิจัย พบว่า โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีจำนวนผู้ป่วยสัญชาติพม่าและลาวที่ไม่ชำระค่าบริการเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนมากมีงานทำ มีความสามารถในการจ่ายเงินเป็นบางส่วน มาโรงพยาบาลหลายครั้ง ผู้บริหารแก้ปัญหาการไม่ชำระค่าบริการโดยเน้นการป้องกันการไม่ชำระเงิน และไม่มีการปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ชำระเงินตามหลักสิทธิมนุษยชน
[1] ผู้ป่วยสัญชาติพม่า หมายถึง ผู้ป่วยที่ถือสัญชาติของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
[2] ผู้ป่วยสัญชาติลาว หมายถึง ผู้ป่วยที่ถือสัญชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
References
ธนาภัทร บุญเสริม และณัฐพรพรรณ อุตมา. (2014). แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย. OBELS Working Paper. no. 3. March.
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. (2559). รายงานประจำปี 2558.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556) สุขภาพคนไทย 2556 : ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจเพิ่มพลังพลเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. กรุงเทพ.
สมเดช มุงเมือง. (2557) การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์-พฤษภาคม.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). สถิติแรงงานข้ามชาติ. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2559, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/18712/20429.pdf
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2558). การนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2558, จาก http://wp.doe.go.th/wp/images/m_lift/Form%20MOU.pdf
สำนักงานประกันสังคม. (2558). กรณีคลอดบุตร. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2560, จาก http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?cat=869.
สุทัศน์ ศรีวิไล. (2556). ผลกระทบของแรงงานข้ามชาติต่อระบบสุขภาพและค่าใช้จ่ายของประเทศไทย. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรบริหารการทูต. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ.
Footracer, K. G. (2009) Immigrant health care in the United States: What ails our system?, Journal of the American Academy of Physician Assistants, vol. 22, no. 4, pp. 33-36.
MaryBeth Musumeci, & Zur, J. (2017). Medicaid Enrollees and Work Requirements: Lessons From the TANF Experience. Retrieved 24 August, 2017, from http://www.kff.org/medicaid/issue-brief/medicaid-enrollees-and-work-requirements-lessons-from-the-tanf-experience.
Taro Yamane(1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล