การศึกษาการสอนโสตทักษะด้านทำนอง ในชั้นเรียนเปียโนขั้นต้นสำหรับผู้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • น้อยทิพย์ เฉลิมแสนยากร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

เปียโนขั้นต้นสำหรับผู้ใหญ่, โสตทักษะด้านทำนอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการสอนโสตทักษะด้านทำนองในชั้นเรียนเปียโนขั้นต้นสำหรับผู้ใหญ่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์คุณครูเปียโนจำนวน 5 คน และสังเกตการณ์สอนของคุณครูเปียโนในชั้นเรียนเปียโนแบบเดี่ยวของนักเรียนวัยผู้ใหญ่อายุระหว่าง 21 – 60 ปี ที่เป็นนักเรียนที่เรียนกับคุณครูที่เข้าร่วมงานวิจัย โดยผู้วิจัยนำข้อมูลผ่านการวิเคราะห์และนำเสนอผ่านการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า คุณครูเปียโนเห็นความสำคัญและมีการสอนโสตทักษะด้านทำนองผ่านการสอดแทรกการสอนในชั้นเรียนเปียโนปกติ โดยไม่ได้มีการจัดกิจกรรมการสอนและจัดการสอนอย่างชัดเจน การเตรียมการสอนและการการวางแผนการสอนจะยึดจุดประสงค์และเป้าหมายในการเรียนของนักเรียนเป็นหลัก ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในชั้นเรียนจะใช้เนื้อหาภายในเพลงและหนังสือแบบเรียนเป็นหลัก ด้านวิธีการสอนโสตทักษะด้านทำนอง คือ การสาธิตการเล่นทำนอง การปรบจังหวะ การร้องทำนองและการอธิบาย ควบคู่ไปกับการใช้เทคนิคการสอนเชิงจิตวิทยาและเทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาโสตทักษะด้านทำนอง สื่อการสอนหลัก คือ หนังสือแบบเรียนเปียโนสำหรับผู้ใหญ่ โน้ตเพลงและเปียโน ปัญหาที่พบโดยมากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนโดยเฉพาะปัญหาการลาเรียนและการซ้อมเปียโน จากงานวิจัยนี้ขอเสนอแนะว่า คุณครูควรมีการจัดการเรียนการสอนโสตทักษะให้มีรูปแบบชัดเจนมากขึ้นและควรส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำคัญของฝึกโสตทักษะด้านทำนองทีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางด้านดนตรีของนักเรียน

References

จารุวรรณ สุริยวรรณ์. (2549). แนวทางการสอนดนตรี . กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
จุฑารัตน์ มณีวัลย์. (2551). การสอนโสตทักษะด้านทำนองในหลักสูตรเปียโน ระดับชั้นต้นของสำนักพิมพ์อัลเฟรด. ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต (ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชมพูนุช ศิลวัฒนาวงศ์. (2558). ความต้องการในการเรียนเปียโนของผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ กรณีศึกษา สถาบันดนตรี เคพีเอ็น. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต(ดนตรี) สาขาดนตรีศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
ณัชชา พันธุ์เจริญ.(2551).ทฤษฎีดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
ณัชชา พันธุ์เจริญ.(2551). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, และปราโมทย์ ประสาทกุล. (2548). ประชากรไทยในอนาคต. มหาวิทยาลัยมหิดล. เว็บไซต์http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Download/Article02.pdf
มนสิการ พร้อมสุขกุล. (2556). การรับรู้ด้านระดับเสียง (Absolute Pitch) ของนิสิตสาขาวิชาดนตรีตะวันตก เครื่องดนตรีเอกเปียโน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
วิภาสินี เมาลานนท์. (2555). ศึกษาแนวทางการตลาดและการดำเนินธุรกิจโรงเรียนดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคีตวิจัยและพัฒนา คณะดุริยางค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
สมชาย อมะรักษ์. (2529). ทฤษฎีสากลเบื้องต้น. กาญจนบุรี: สหวิทยาลัยทวารวดี กาญจนบุรี.
Bowles, C. L. (2010). Teacher of Adult Music Learner: An Assessment of Characteristics and Instructional Practices, Preparation, and Needs. Applications of Research in Music Education, 87551233, May, Vol. 28, Issue 2.
Creswell, J. W. (2014). Qualtitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. Thoudsand Oaks,
CA: Sage.
Dongbo, L. (2015). Research on Interpenetration between Solfeggio and Ear Training and Music Aesthetic Psychology Based on Aesthetics. International Conference on Education Technology and Economic Management (ICETEM 2015).Fujian Vocational College of Art, Fuzhou, 350100, China
Kodály, Z. (1974). The Selected Writings of Zoltán Kodály. London: Boosey & Hawkes.
Laidman, J. (2014). Music helps kids read. Scientific American Mind. May/Jun2014, Vol. 25 Issue 3, p16-16. 2/3p.
Mile, M. B., & Huberman , A. M. (1994). Qualitative Data Analysis. In An Expanded Sourcebook (2 ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Waterhouse, C. (2002). Music Education in the Early Years. EYE Magazine. February 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30