ชุดประสบการณ์สร้างความงามด้วยเครื่องดื่มเสริมความงามของเยาวชนหญิง ในวัฒนธรรมล้านนา
คำสำคัญ:
ชุดประสบการณ์, เครื่องดื่มเสริมความงาม, เยาวชนหญิง, วัฒนธรรมล้านนาบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาชุดประสบการณ์สร้างความงามด้วยเครื่องดื่มเสริมความงามของเยาวชนหญิงในวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาอุดมการณ์ความงาม การให้ความหมายเชิงสัญญะ และชุดประสบการณ์การดื่ม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเล่าเรื่องกับนักศึกษาหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีพื้นเพเป็นคนภาคเหนือโดยกำเนิดและเคยบริโภคเครื่องดื่มเสริมความ อายุตั้งแต่ 18-25 ปี จำนวน 10 คน โดยใช้แบบคำถามการสัมภาษณ์แบบเล่าเรื่องและการสังเกตการณ์
ผลการศึกษา พบว่า เยาวชนหญิงได้รับอิทธิพลจากอุดมการณ์ความงามในสังคมและวัฒนธรรมล้านนาทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ส่งผลทำให้เยาวชนหญิงล้านนาเลือกใช้เครื่องดื่มเสริมความงามในการสร้างความงามของตนเอง โดยพบว่าเยาวชนหญิงล้านนามีชุดประสบการณ์การดื่มเครื่องดื่มเสริมความงามที่แตกต่างและหลากหลายถึง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) ชุดประสบการณ์ดื่มเครื่องดื่มเสริมความงามแบบเพียวเพียงชนิดเดียว 2) ชุดประสบการณ์ดื่มเครื่องดื่มเสริมความงามแบบผสมควบคู่กับเครื่องดื่มเสริมความงามชนิดอื่น 3) ชุดประสบการณ์ดื่มเครื่องดื่มเสริมความงามควบคู่กับวิตามิน ยาหรืออาหารเสริมอื่นๆ 4) ชุดประสบการณ์ดื่มเครื่องดื่มเสริมความงามร่วมกับการใช้กรรมวิธีอื่นๆ ทั้งนี้ เยาวชนหญิงได้ให้ความหมายเชิงสัญญะต่อเครื่องดื่มเสริมความงามในบริบทล้านนาว่า เป็นน้ำสาวเครือฟ้าเพิ่มความสวยทำให้คนชม, เป็นน้ำอมฤทธิ์ช่วยชะลอความแก่โกงอายุ, เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจ, เพิ่มเสน่ห์และดึงดูดเพศตรงข้าม, เป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงออกถึงการดูแลตัวเอง, ช่วยมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง, เป็นที่พึ่งทางใจและแรงผลักดัน ซึ่งภายหลังจากการดื่มทำให้พวกเธอมีการนิยามตัวตนที่ลื่นไหลไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงทั้งจากการลบข้อครหาว่าดำเป็นคนใต้และจากความเท่ห์แบบอ้วนดำเปลี่ยนมาเป็นนิยามความสวยที่ผอมขาวแบบสาวเหนือ ส่วนการนิยามตัวตนที่ลื่นไหลไปตามการเลือกดื่มเครื่องดื่มเสริมความงามนั้น มีทั้งการนิยามตนเองว่าเป็นผู้หญิงล้านนาที่สมบูรณ์แบบ ทันสมัย และเป็นผู้กระทำการ โดยมีตัวเธอเองเป็นผู้เลือกเครื่องดื่มเสริมความงามที่จะมาช่วยในการสร้างความงามให้พวกเธอเป็นไปตามความคาดหวังของตนเองและสังคมล้านนาด้วย
References
ปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม.
เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เบเนคอล. (2557). ตลาดเครื่องดื่มเสริมอาหารในภาคเหนือ.สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560.
เข้าถึงจาก https://www.tops.co.th.
บริษัท เซปเป้ บิวตี้ดริ้งค์ จำกัด. (2553). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มบิวตี้ดริ้งค์ในประเทศไทยแบบแยก
ตามภาค. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560. เข้าถึงจาก www.sappe.com/th.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2546). ตำราดูลักษณะผู้หญิง.เอกสารอัดสำเนา.
เอกราช บำรุงพืชน์. (2556). กระแสผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกับสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). การทบทวนทฤษฎี , อัตลักษณณ์, กรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Baudrillard, J. (1994). Simulacra and simulation. University of Michigan press.
Bourdieu, P. (1996). The rules of art: Genesis and structure of the literary field. Stanford
University Press.
Northern Industries Center. (2553). ตลาดธุรกิจความงามในภาคเหนือ.สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560.
เข้าถึงจาก https://www.northernindustrialcenter.com.
Tong, F., Nakayama, K., Vaughan, J. T., &Kanwisher, N. (1998). Binocular rivalry and visual
awareness in human extrastriate cortex. Neuron, 21(4), 753-759.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล