ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กรที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อิสรา แก้วคูนอก สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • กิติยา ทัศนะบรรจง สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลง , ความผูกพันต่อองค์กร , ผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชา ความผูกพันต่อองค์กร และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันต่อองค์กร 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วยพนักงานระดับปฏิบัติการ ในบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง จำนวน 310 คน ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีแบบแบ่งชั้น (Proportional stratified random sampling) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติประกอบด้วย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ การศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนผลกระทบในเชิงบวกของภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน นอกจากนี้ความผูกพันต่อองค์กร ยังส่งผลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

รัตนพล อุปฐานา, มาเรียม นะมิ และอัมพล ชูสนุก. (2559). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์กร และผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารทิสโก้จํากัด (มหาชน). วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8 (พิเศษ), น. 39-51.

วิจัยกรุงศรี. (2566). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย 2566 – 68. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025.

วิฑูรย์ โชตนะพันธ์ (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของพนักงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และผลการปฏิบัติงานส่วนบุคคล กรณีศึกษาการประปานครหลวง. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภวรรณ คงเสมา, สุภาษา บุญยงค์ และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). วัฒนธรรมองค์กร เงื่อนไขสําคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน. วารสารศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. 7 (12), น. 369-379.

ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2566). รายงานภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประจำปี 2566. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567, จาก

https://eiu.thaieei.com/Home/IndustryReportContent?OutlookID=189.

สุกฤษฏิ์ ขวัญเมือง (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักโฆษกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. วารสารไทยคู่ฟ้า. (33), น. 1-43 ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/document/66/2017/09/pdf/Thaikhufah03_2560.pdf.

โสมย์สิรี มูลทองทิพย์. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา อําเภอท่ามะกา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Avolio, B. J. & Bass, B. M. (1991). The full range leadership development programs: Basic and advanced manuals. Binghamton, NY: Bass, Avolio & Associates.

Armstrong, M. (2014). A handbook of human resource management practice. (13th ed). London: Kogan Page.

Bass, B. M. (1997). Personal selling and transactional transformational leadership. Journal of Personal Selling & Sales Management. 17 (3), pp. 19-28.

Bass, B. M. (1999). Two decades of research and development in transformational leadership. European journal of work and organizational psychology. 8 (1), pp. 9-32.

Best, J. L. (1981). The morphology of river channel confluences. Progress in Physical Geography. 5 (1), pp. 19-47.

Glass, G. V. & Hopkins, K. D. (1984). Statistical methods in education and psychology. (2nd ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human resource management review. 1 (1), pp. 61-89.

Pradhan, S. & Pradhan, R. K. (2015). An empirical investigation of relationships among transformational leadership, affective organizational commitment and contextual performance. SAGE. 19 (3), pp. 227-235.

Tavakol, M. & Dennick, R. (2011). Making sense of Cronbach's alpha. International journal of medical education. 2, p. 53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26