การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เพ็ญพิสุทธิ์ ศิริ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • จิรดา เอื้อศิริวัฒนชัย สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ, ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน  สถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes: ESP)    โดยมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางภาษาและความรู้ที่จำเป็นจนสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะมีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการเรียนการสอนที่มีความแตกต่างจากการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั่วไป (General English: GE) ทั้งใน               ด้านวัตถุประสงค์ในการเรียนและกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้น บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์    เพื่อมุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ         ในประเทศไทย  ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสม การขาดการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน ผู้สอนขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาวิชาของผู้เรียน ผู้เรียนขาดความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ และสื่อการสอนที่ไม่ทันสมัย เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในประเทศไทย  ทั้งนี้ บทความวิชาการฉบับนี้ได้เสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดแรงงานที่มีความเป็นสากลได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิตติ ประเสริฐสุข. (2555). ASEAN Insight: ทักษะภาษาอังกฤษกับอาเซียน, [ออนไลน์]. กรุงเทพธุรกิจ. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://aseanwatch.org/wp-content/ uploads/2012/07/ ASEAN-Insight-no.11.pdf.

นัสยา ปาติยเสวี และบริภัทร กิจจาบัญชา. (2553). การศึกษาความจำเป็นในการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฎฐนุช มั่นสาคร. (2548). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พลิสา สุนทรเศวต. (2561). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (ESP) ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 14(2), น. 1-26.

ทัตทริยา เรือนคำ และยุทธศักดิ์ ชื่นใจชน. (2559). การสำรวจการรับรู้การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 5(2), น. 77-94.

ไทยพีบีเอส. (2566). ปี 66 ไทยรั้งโหล่อาเซียน ‘ทักษะภาษาอังกฤษ’. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://theactive.net/news/learning-education-20231128/

วนิชา สิรรังหอม. (2563). การวิเคราะห์ความต้องการทักษะการพูดภาษาอังกฤษและปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(4), น. 109-120.

สุภาพร เจริญสุข และกิตติมา ตันติหาชัย. (2562). การศึกษารูปแบบของสถานประกอบการ ปัญหาและกลยุทธ์ การแก้ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาฝึกงานระดับมหาวิทยาลัย. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30(1), น. 75-88.

Dudley-Evans, T., & M. J. St John. (2012). Developments in English for Specific Purposes: A Multi-Disciplinary Approach. (15th ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Hamp-Lyons, L. (2001). English for Academic Purposes. In R. Cater, & D. Nunan (Eds.), The Cambridge Guide to Teaching English to Speakers of Other Languages (pp. 126-130). Cambridge: Cambridge University Press.

Hutchinson, T. & Waters, A. (1991). English for Specific Purposes: A Learning-Centred Approach. (6th ed). Glasgow: Cambridge University Press.

Hutchinson, T. & Waters, A. (1994). English for Specific Purposes: A Learning Centred Approach. New York: Cambridge University Press.

Kennedy, C. & Bolitho, R. (1984). English for Specific Purposes. London: Macmillan.

McDonough, J. (1984). ESP in Perspective: A Practical Guide. London and Glasgow: Collins Educational.

Rahman, M. (2015). English for Specific Purposes (ESP): A Holistic Review. Universal Journal of Educational Research, 3(1), pp. 24-31.

Robinson, P. (1991). ESP Today: A Practitioner’s Guide. New York: Prentice Hall.

Saengboon, S. (2006). CLT revisited. NIDA Language and Communication Journal. 11(11), pp. 136–148.

Sukying, A., Supunya, N., & Phusawisot, P. (2023). ESP Teachers: Insights, Challenges and Needs in the EFL Context. Theory and Practice in Language Studies. 13(2), pp. 396-406.

Thanh, M. T. T. (2016). A survey on problems in studying ESP faced by the IT students at South-East Vocational College, Dong Nai Province, Vietnam. Humanising Language Teaching. 18(1), pp. 91-106. Retrieved 26 February, 2024, from http://old.hltmag.co.uk/feb16/mart06.htm

Tsao, C. H. (2011). English for specific purposes in the EFL context: A survey of student and faculty perceptions. Asian ESP Journal. 7(2), pp. 125-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28 — Updated on 2024-07-05

Versions