ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พนาไพร มาโยธา สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อุไร สุทธิแย้ม สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ , ผู้บริหารสถานศึกษา , ทัศนะของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู จำแนกตามตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 322 คน ปีการศึกษา 2566 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮนและใช้วิธีการสุ่มแบบขั้นภูมิ และวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย  โดยการเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่  ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี  พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนครูที่สังกัดขนาดโรงเรียนต่างกันมีทัศนะต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

References

ฏิมากร บุ้นกี้. (2563). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ธีระยุทธ คงแสงธรรม. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 12(1), น. 415-425.

นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานนคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 17 (2), น. 34-37. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/246302/166907.

อภิวัฒน์ มรรคผล. (2565). ศึกษาภาวะผู้นำแบบ Agile ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัจฉรา โพธิ์อ้น. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 4 (1), น. 143-150. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bkkthon/article/view/36079/29951.

Bryman, A. (1992). Charisma and Leadership in Organizations. London : Sage.

Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th ed). New York : Routledge.

Hoy, Wayne K. and Miskel, Cecil G. (1996). Education Administration Theory, Research and Pratice. Theory, Research and Pratice. (3rd ed.). New York : McGraw-Hill.

Jesse. B. (1999). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper & Row. Maghroori, R. and Rolland, C.. (1997). The Appreciative Inquiry Summit: A Practitioner’s Guide for Leading Large-Group Chang. San Francisco : Berrett - koehhier.

Robbins, S. P. and Coulter, M. (2003). Management. New Jersey : Pearson Education

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28