การพัฒนาทักษะการจำและการอ่านคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้เกม Blooket ของนักเรียนชั้นมัธยมชั้นปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
คำสำคัญ:
ทักษะการจำ, การอ่านคำศัพท์ภาษาจีน , เกม Blooketบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการจำและการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้เกม Blooketให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการจำและการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังการใช้เกม Blooket ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/16 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ที่เรียนรายวิชาภาษาจีน (เพิ่มเติม) ภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวน 22 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม Blooket จำนวน 4 แผน เกม Blooket และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้เกม Blooket (Pre-test/Post-test) สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติพื้นฐาน ร้อยละค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน การหาค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม Blooket มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.98/84.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการจำคำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังการใช้ เกม Blooket พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.45 และผลคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.41 แสดงว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากพัฒนาทักษะการจำและอ่านคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้เกม Blooket ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง 2560).กรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือฝึกอบรมวิทยากร การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตร.กรุงเทพมหานคร,โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
เจิ้ง อ้ายผิง. (2560). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ทิศนา แขมมณี. (2565). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย.พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพร วัฒนากมลกุล และมโนรัตน์ สมคะเนย์. (2564). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาฉ (13) น. 16
วราลี รุ่งบานจิตและวรทา รุ่งบานจิต. (2564). การใช้เกมคำศัพท์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์และการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5. การประชุมวิชาการระดับชาติการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้.
วรรณิษา ไวยฉายี. (2565). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานการณ์ปัจจุบัน : มุมมองของผู้เรียนต่อการพัฒนาสถาบันสอนภาษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุกิจ ศรีพรหม. (2562). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน : กรณีศึกษานักเรียนวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการอาชีพมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยราชพฤกษ์
สุมิตร คุณานุกร. (2563). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์
อนุภาพ ดลโสภณ. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่5ระหว่างการสอนโดยใช้เกมและการสอนตามคู่มือครู.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Chuck Hillman. (2012).Techniques of Teaching Vocabulary. Rotterdam : Field Educational Publication Incorporated. 2012.
Ghadessy, M.(2015). “Word Lists and Materials Preparation : A New Approach,”English Teachings Forum. 17 (1) : 24. January 2015.
Johnson. (2011).Promoting Active Learning : Strategies for the Collage Classroom. San Francisco : Jossey-Bass. 2011.
Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for School. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Tyler, R. W. (1971). Basic principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-03 (2)
- 2024-06-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว