การจัดการสถานที่ สุขอนามัยและกิจกรรมของสถานประกอบการ ที่พักแรมเมืองรองในประเทศไทย เพื่อตอบรับนโยบายท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
คำสำคัญ:
สถานประกอบการที่พักแรม, การจัดการสถานที่สุขอนามัย, กิจกรรมเชิงสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการจัดการสถานที่ สุขอนามัยและกิจกรรมของสถานประกอบการที่พักแรมเมืองรองในประเทศไทยเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตอบรับนโยบายท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 1) การจัดการสถานที่ตอบรับนโยบายท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของสถานประกอบการที่พักแรมเมืองรองในประเทศไทย 2) การจัดการสุขอนามัยตอบรับนโยบายท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของสถานประกอบการที่พักแรมเมืองรองในประเทศไทย 3) การจัดกิจกรรมเชิงสุขภาพของสถานประกอบการที่พักแรมเมืองรองในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานประกอบการที่พักแรมเมืองรองที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Standard) 355 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ตัวบ่งชี้องค์ประกอบตัวแปรสังเกตุได้ โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ตำแหน่งผู้จัดการร้อยละ 48.73 บ้านพักให้บริการมี 6-10 หลังร้อยละ 46.70 รูปแบบการให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศร้อยละ 84.23 ระยะเวลาในการจัดตั้งสถานประกอบการ 7-9 ปีร้อยละ 40.85 ที่ตั้งของสถานประกอบการอยู่ภาคเหนือร้อยละ 40.00 ผลการศึกษาพบว่า สถานประกอบการที่พักแรมเมืองรองมีการตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การจัดการสถานที่ การจัดการสุขอนามัย และ จัดกิจกรรมเชิงสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล และ นิมิต ซุ้นสั้น. (2566). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบสร้างสรรค์ การพัฒนาเมืองรอง จังหวัดระนอง. วารสารรัชต์ภาคย์. 17(50), น.328-342.
กรมการท่องเที่ยว. (2566). มาตรฐานทีพักเพื่อการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566, จาก www.dot.go.th.
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโตทั่วโลกปี 70 ไทยแตะระดับ 7.6 แสนล้าน. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2567, จาก www. bangkokbiznews.com
ทำเนียบรัฐบาล. (2566). รัฐบาลเดินหน้าผลักดันเมืองรองเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2567, จาก www.thaigov.go.th.
ไทยโพสต์. (2567). ยกระดับไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567, จาก www.thaipost.net.
อรวรรณ บุญพัฒน์. (2564). การปรับปรุงรูปแบบของโรงแรมในยุคหลังโควิด-19. วารสารการท่องเที่ยวและการบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 6(2), น.1-14.
อัจศรา ประเสริฐสิน และ วิจิตรตา โป๊ะฮง. (2565). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามการรับรู้และพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารรัชต์ภาคย์. 16(48), น.136-151.
Hussain, A., Li, M., Kanwel, S., Asif, M., Jameel, A., & Hwang, J. (2023). Impact of Tourism Satisfaction and Service Quality on Destination Loyalty: A Structural Equation Modeling Approach concerning China Resort Hotels. Sustainability. 15 (7713), pp.2-15.
Schumacker, R.E. & Lomax, R.G. (2010) A Beginners Guide to Structural Equation Modeling. New York: Routledge.
Sekaran, (2003). Research Methods for Business. (4th ed.) New York: John Wiley & Sons.
Thailand Tourism Standard. (2019). Wellness Service Standard for Tourism. Thailand: The Department of Tourism.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-03 (2)
- 2024-06-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว