โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มคนเปราะบาง ด้านสวัสดิการสังคม บริเวณรอบศูนย์ราชการสระบุรี ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม , กลุ่มคนเปราะบาง , สวัสดิการสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ให้กับแกนนำภาคประชาชนเกี่ยวกับการดูแลกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคมของประชาชน 2) เพื่อเสริมสร้างทักษะพัฒนาแกนนำภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคมของประชาชนโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสนทนากลุ่มและ 3) จัดเวทีสาธารณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแกนนำเครือข่าย เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกในพื้นที่ จำนวน 50 คน ประกอบด้วย ประชาชนในเขตพื้นที่สระบุรี ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือรับผิดชอบดูแล จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์เชิงข้อมูลพรรณนา (Descriptive) ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ให้กับแกนนำภาคประชาชน เกี่ยวกับการดูแลกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคม ของประชาชน จะต้องอาศัยปัจจัยด้านภาวะผู้นำ จิตอาสา สุขภาพ ความรู้ และเวลา 2) การเสริมสร้างทักษะพัฒนาแกนนำภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนเปราะบางด้านสวัสดิการสังคมของประชาชน พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เฉพาะในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น ขาดการบูรณการในการทำงานร่วมกันและความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม
Downloads
References
กนกพร ฉิมพลี. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน:กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิราพร สามัญ. (2558). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐณัชากร ศรีบริบูรณ์. (2559). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ อุดมสิน. (2557). รูปแบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร หน่วยที่ 2 ในการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ. (2559). ศักยภาพและเครือข่ายผู้นำชาวบ้าน “คู่มือและทิศทางการพัฒนาผู้นำชาวบ้านเพื่อแก้ปัญหาชนบท”. กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). วุฒิอาสาธนาคารสมอง “บทบาทผู้สูงอายุที่น่าจับตามอง” จุลสารธนาคารสมอง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี. (2561). รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี. สระบุรี : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระบุรี.
สุภาวดี จิตติรัตนกุล. (2557). ภาวะผู้นําการเปลื่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรี กรณีศึกษาเทศบาลเมืองพังงา อําเภอเมือง จังหวัดพังงา. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Batterham D. (2019) Defining the “risk of homelessness”: reconnecting causes, mechanisms and risk. Housing, Theory and Society. 36(1), 1-24. Retrieved May 20, 2022, from https://www.tandfonline.com.
Davey, M., and Knaus. C. (2018). Homelessness in Australia up 14% in five years, ABS says. The Guardian. Retrieved April 10, 2019, from https://www.theguardian com/australianews/2018/mar/14/homelessness-in-australia-up-14-in-five-years-abs-says.
Ho, V. (2020). Los Angeles county sees homelessness rise 13%, even before the coronavirus impact. The Guardian. Retrieved June 2, 2021, from https://www. theguardian.com/usnews/2020/jun/12/los-angeles-homelessness-increase-california.
Homeless World Cup Foundation (2019). Global Homelessness Statistics. Retrieved July 1, 2020, from https://homelessworldcup.org/homelessness-statistics/.
Kim Hill. (2019). Moving beyond Stereotypes of Men's Foraging Goals. Current Anthropology. 51(2), pp.265-267.
Orem, D. E. (2018). Nursing: Concepts and Practice. (6th ed.). St. Louis, MO: Mosby.
Peter M. Senge. (2017). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning. New York: McMillan.
World Bank. (2015). “Live Long and Prosper : Aging in East Asia and Pacific”. Retrieved June 2, 2021, from https://www.worldbank.org/en/news/infographic/2015/12/09/live-long-and-prosper-aging-in-east-asia-pacific.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว