การศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแบบลานกางเต็นท์ในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการ , ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว , การท่องเที่ยวแบบลานกางเต็นท์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแบบลานกางเต็นท์ในจังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแบบลานกางเต็นท์ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาใช้บริการลานกางเต็นท์ในจังหวัดชลบุรี มีจำนวน 200 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแบบลานกางเต็นท์ในจังหวัดชลบุรี พบว่า มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ และด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแบบลานกางเต็นท์ในจังหวัดชลบุรี มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.882 ร่วมกันทำนายความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว(R2 )ได้ร้อยละ 77.3 และมีค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว โดยมีค่า F เท่ากับ 170.246 สร้างสมการทำนายได้ดังนี้ ŷ T = 0.457 + 0.113x1 + 0.260x3 + 0.245x4 + 0.254x5
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2565. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://www.mots.go.th/news/category/657.
กรรณณิกา ผลเจริญ. (2563). ปัจจัยการรับรู้คุณภาพการบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการที่พักราคาประหยัดในพื้นที่เขตพระนครกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวเอเชียกับชาวยุโรป. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เที่ยวแคมป์ปิ้ง. (2564). รวม 15 จุดกางเต็นท์สวยๆ ในจังหวัดชลบุรี. ค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2566, จากhttps://tiewcamping.com/chonburi-camp/.
นัท สุมนเตมีย์. (2564). วัฒนธรรมกลางแจ้ง. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จากhttps://readthecloud.co/camping-history-in-thailand/.
ปรีชญา รัตนนันทนาถ. (2562). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจที่พักอาศัยให้เช่า ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบริการ คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุสิตธานี.
พรประภา ไชยอนุกูล. (2557). คุณภาพการให้บริการของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าอิสะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภาวิณี ทองแย้ม. (2560). ความสำคัญของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จของธุรกิจ. วารสารเกษมบัณฑิต. 8 (1), น. 219-232.
ศุภิสรา ศรีอุทารวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในจังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุภาณี ฉิมดี. (2555). แนวทางการจัดการพื้นที่ลานกางเต็นท์และการให้บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรและสหกรณ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สุรางคนา ศรีสุทธิ. (2563). แผนธุรกิจ Home Camping (ธุรกิจแกลมปิ้งและแคมป์ปิ้ง). การค้นคว้าอิสระการจัดการมหาบัณฑิต สาขาความเป็นผู้ประกอบการ คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
The Business Research Company. (2022). มูลค่าตลาดแคมป์ปิ้งทั่วโลกพุ่ง 11.2% อยากจับธุรกิจนี้ต้องเริ่มอย่างไร. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/business/986538.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-03 (2)
- 2024-06-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว