การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ผู้แต่ง

  • รพีพร ทองสุพรรณ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ประจบ ขวัญมั่น สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ , ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน , โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูที่ปรึกษา และนักเรียน จำนวน 346 คน โดยใช้เกณฑ์กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan (1970, pp. 607-610) ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงความถี่ วิเคราะห์เนื้อหา และการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์ประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม 3 ด้าน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ได้แก่ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ รองลงมา ได้แก่ ด้านผลผลิตของโครงการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 2) แนวทางการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า มีแนวทางพัฒนาโครงการที่สำคัญ ดังนี้ ด้านปัจจัยเบื้องต้น คือ ผู้บริหารและคณะครูควรนำกระบวนการ PLC ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ด้านกระบวนการดำเนินงาน คือ สถานศึกษาควรวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายมีการวางแผนการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการ และด้านผลผลิต คือ สถานศึกษาควรจัดทำโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการรายงานผลและสรุปผลโครงการทุกปี เพื่อทำให้กระบวนการนิเทศกำกับติดตามมีประสิทธิภาพให้เป็นระบบอย่างแท้จริง

References

นิษากรณ์ เหล่าเขตกิจ. (2560). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบึงหล่ม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ระวีวรรณ เพ็ชรคง. (2557). แนวทางพัฒนาปัจจัยและกระบวนการตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วุฒิไกร วุฒิกัมพล. (2557). การศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2564). นโยบายและจุดเน้นเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. กำแพงเพชร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. กำแพงเพชร : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร

เขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับ รางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 - 2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

อัญทิรา วาดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28 — Updated on 2024-07-03

Versions