รูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

ผู้แต่ง

  • ชัชปพงศ์ ไทยเพชร์กุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • โกศล มีคุณ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศักดิ์ชัย นิรัญทวี สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารการพัฒนา , การพึ่งตนเอง , การปรับตัว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ 3) ศึกษารูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเสริมด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจำนวน 231 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดและแบบประเมินซึ่งเป็นมาตรประเมินค่าจำนวน 11 แบบวัด มี 4 ถึง7 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.222 ถึง 0.643 ค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.529 ถึง 0.871 การวิเคราะห์ใช้สถิติพื้นฐานสถิติอ้างอิงและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1) ปัจจัยสถานการณ์ทางสังคม ปัจจัยจิตลักษณะร่วมกับปัจจัยจิตลักษณะตามสถานการณ์ อธิบายพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ร้อยละ 38.3 2) เด็กและเยาวชนซึ่งอาศัยกับปู่ย่าตายายเป็นกลุ่มควรได้รับการพัฒนาก่อน ปัจจัยส่งเสริม คือ การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ให้ความรักมีเหตุมีผล 3) รูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ4) รูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชน ฯ ที่สร้างขึ้นเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมีคะแนนรายด้านร้อยละ 86.19-94.52 โดยรวมร้อยละ 89.46 สูงกว่าเกณฑ์กำหนดร้อยละ 70/75

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2563). รายงานสถิติเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและศูนย์ฝึกและอบรมฯ ปี 2563. ค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2566จาก https://www.djop.go.th/index.php/home.

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2565). รายงานสถิติเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและศูนย์ฝึกและอบรมฯ ปี 2565. ค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2566 จากhttps://www.djop.go.th/index.php/home.

กุสุมาลี โพธิปัสสา และคณะ. (2563). การเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายในครอบครัวข้ามรุ่น.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 23 (2), น. 154-167.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพ้อยท์.

จิราพร เซ็นหอม. (2562). รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างการพึ่งตนเองของนักศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม และแนวทางการตั้งสมมติฐาน ในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม. 9 (1), น. 85-117.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2558). รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model)และแนวทางการตั้งสมมุติฐาน ในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย.วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร. 9(1), น. 4-9.

ตรงกมล สนามเขต และดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2559). จิตลักษณะปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้วิธีการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 8 (1), น. 164-171.

ตะวันฉาย มิตรประชา. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเยาวชนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเยาวชนภายหลังการปล่อยตัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(1), น. 34-46.

นิรุธ บัณฑิโต. (2557). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้การบริหารคุณภาพวงจรเดมมิ่ง. วิทยนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ยุทธภูมิ เอียดเปรียว. (2563). ลักษณะทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี. 6 (2), น. 111-128.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. (2560, 6 สิงหาคม).ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่134ตอน40,น.1.

สหรัฐ กิติศุภการ. (2562). คำอธิบายพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สิริพร บุญพา. (2562). รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุวิมล ว่องวิชัย และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสกมนต์ สัมมาเพ็ชร. (2559). ทรัพยากรการบริหารกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานกับของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565).กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13ปีพ.ศ.2565-พ.ศ.2570. ค้นเมื่อ 27กันยายน256,จากhttps://www.nesdc.go.th/main.php?fileame=plan13.

Bertalanffy, L. (1973). The meaning of general system theory. General system theory: Foundationsdevelopmentapplications. 30 (1), p.53.

Best, J., & Kahn, J.V. (1993). Research in Education. (8th ed).Boston: Allyn and Bacon.

Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for The Behavioral Sciences. New York: Academic Press.

Deming, W. Edwards. (1986). Out of Crisis.Cambridge: MIT Press.

Griffin, R.W. (1996). Management(11 th ed). Houghton: Erin Joyner.

Magnusson, D., & Endler, N.S. (1977). Personality at the Crossroads: Current Issues in Interactional Psychology. New Jersy: Lawrence Erlbaum Associated publishers.

Nasago, J.W. & Musung, L.L. (2009). The implications of Nyererre’Theory of Education to Contemporary Education in Kenya. Educational Research and Reviews. 4 (4), pp. 111-116.

Nation, M., Crusto, C., Wanderman, A., Kupffer, K. L., Seybolt, D., Morrissey-Kane, E., & Davino, K. (2003). What works in prevention principles of effective prevention programs. American Psychologist. 58 (6/7), pp. 449-456.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26 — Updated on 2024-06-28

Versions