ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • อพัชชา ช้างขวัญยืน สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • พฤกษา ดอกกุหลาบ สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ณัฐกานต์ ภาคพรต สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

เจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ต, พฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ต (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อเรื่องมารยาททางอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี รายวิชาวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล ภาคเรียนที่ 1/2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 380 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตและแบบสอบถามพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80-1.00 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม, เจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ โดยแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 มีเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.36, S.D.= 0.06) และมีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์อยู่ในระดับน้อยที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 1.35,S.D.= 0.23) ซึ่งเจตคติมารยาททางอินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.997, p <  0.05)

References

จันทิมา ชุวานนท์, ธญวรรณ, ก๋าคำและชมพูนุท ถาวรวงศ์. (2562). เจตคติและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ชญาพัฒน์ ทองปากน้ำ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาลของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลทหารบก. 18(3), 217-227.

ชรินทร์ มั่งคั่งและนิติกร แก้วปัญญา. (2565). การบ่มเพาะมารยาทดิจิทัล: วิธีสอนออนไลน์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นพลเมืองก้าวหน้าในห้องเรียนสังคมศึกษาเสมือนจริง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 6(1), น. 204-214.

ฐิตินันทน์ ผิวนิล. (2563). มารยาททางสังคมในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 39(1), น. 169-192.

ฐิตินันทน์ ผิวนิล. (2565). บทบาทครอบครัว ครูอาจารย์ และกลุ่มเพื่อนที่มีต่อมารยาททางสังคมในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. วารสารธรรมศาสตร์. 41(2), น.177-195

ณัฐกาญจน์ กอมณี, ชัญญา ลี้ศัตรูพ่ายและวิธัญญา วัณโณ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 9(1), น. 21-40.

ธันยากร ตุดเกื้อและมาลี สบายยิ่ง. (2560). รูปแบบ ผลกระทบ และวิธีการจัดการเมื่อถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 9(2), 220-236.

ธันยากร ตุดเกื้อ, เกษตรชัย และหีมและฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2562). การศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของพฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารปาริชาตมหาวิทยาลัยทักษิณ. 32(2), น. 157-167

ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา [Praornpit Katchwattana]. (2565). AIS อุ่นใจ Cyber ชวนคนไทยหยุดวงจรการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ในวัน Stop Cyberbullying Day 2022 กับแคมเปญ “โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน” ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566, จาก https://www.salika.co/2022/06/17/ais-aunjai-cyber-stop-cyberbullying-online-campaign-2022/

ปรเมศร์ กลิ่นหอม. (2552). แหล่งเรียนรู้และประกอบการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2566, จาก hbdkru.blogspot.com/2009/12/3.html

ปริญญา ชะอินวงษ์, สมบัติ สกุลพรรณ์และดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2563). การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 34(3), น. 133-151.

มูลนิธิยุวพัฒน์. (2562). การกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงในสังคม. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566, จาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/การกลั่นแกล้ง-bullying-วัยรุ่น/

วรรณากร พรประเสริฐ และรักษิต สุทธิพงษ์. (2562). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 14(3), น. 31-46.

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy). (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี : บริษัท วอล์ค ออน คลาวด์ จำกัด

สายชล ทรัพย์มากอุดม. (2565). “AIS อุ่นใจ Cyber” เปิดแคมเปญ ‘โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน’ หยุดเรียกชื่อล้อเลียน สร้างสังคมออนไลน์ปลอดภัย. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2566, จาก https://www.salika.co/2022/06/17/ais-aunjai-cyber-stop-cyberbullying-online-campaign-2022/

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์. (2538). กระบวนการเรียนการสอนเพื่อการสร้างและเปลี่ยนแปลงเจตคติ. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข

ยืน ภู่วรวรรณ. (2564). ร่องรอยในโลกไซเบอร์. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2566, จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=7&l=4

อนุพงศ์ สุขเกษม. (2563). พฤติกรรมและเจตคติต่อการระรานทางไซเบอรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารจันทรเกษมสาร. (26)2, น. 297-313.

อพัชชา ช้างขวัญยืน. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนเชิงรุกร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Christopher J. Bechler, Zakary L. Tormala, and Derek D. Rucker. (2021). The Attitude–Behavior Relationship Revisited. Sage journals. 32(8), 1285-1297.

Galimullina, N.M., Vagaeva, O.A., Liksina, E.V., Efremkina, I.N., Saratovtseva, N.V. (2022). Digital Etiquette in University Students’ Communicative Practice. In: Solovev, D.B., Savaley, V.V., Bekker, A.T., Petukhov, V.I. (eds) Proceeding of the International Science and Technology Conference "FarEastCon 2021. Smart Innovation, Systems and Technologies, vol 275. Springer, Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-16-8829-4_42

Giumetti, G.W., Kowalski, R.M. (2022). Cyberbullying via social media and well-being.Current Opinion in Psychology, 45, https://doi.org/10.1016/j.copsyc.2022.101314.

We Are Social and Meltwater. (2022). Digital 2023 Thailand. Retrieved September 5, 2023, from https://www.insightera.co.th/digital-2023-thailand/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26