แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • พฤกษา ดอกกุหลาบ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • อพัชชา ช้างขวัญยืน สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ณัฐกานต์ ภาคพรต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ธนกฤต ทองคล้ำ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, การรู้เท่าทันสื่อ, การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

สังคมดิจิทัลในยุคปัจจุบัน สื่อมีพลังและสามารถเข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็วมากขึ้น ผลกระทบของสื่อจึงเกิดขึ้นในวงกว้างตามไปด้วย เนื่องจากผู้คนสามารถเปิดรับและใช้สื่อได้ทุกที่ทุกเวลา การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ จึงมีความสำคัญอย่างมากในการพิจารณาแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมในสื่อสังคมออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลว่าจริงหรือเท็จ รวมไปถึงการรู้จักประโยชน์และโทษที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีสติและปัญญาในการเลือกรับข่าวสาร ไตร่ตรอง และใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ พลเมืองดิจิทัลทุกคนจึงควรมีองค์ความรู้และมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ก่อนมีปฏิสัมพันธ์หรือส่งต่อให้บุคคลอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบตามมา การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ จึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบหรือวิธีการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการกลั่นกรองภายใน ก่อนตัดสินใจแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อข้อมูลข่าวสารในสื่อ ซึ่งวิธีการจัดการเรียนสอนที่สอดคล้องกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละด้านนั้น ผู้เขียนจึงได้นำเสนอการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ฯลฯ เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากวิธีการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวมีกระบวนการ ขั้นตอน และแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละด้าน ซึ่งจะช่วยให้การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์ต่อคนกลุ่มต่างๆ รวมถึงเป็นการรวมศักยภาพด้านต่างๆ ทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติของตัวผู้เรียนเอง รวมไปถึงครอบครัว ชุมชน และสังคมโลก

References

กฤษฎา วรพิน. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรูตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ เพื่อสงเสริมความสามารถในการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 46 (4), น. 1-21.

ฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ, จตุพล ยงศร และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(2), น. 8-21.

ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ และกฤชณัท แสนทวี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันข้อมูลและสื่อดิจิทัลของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(1), น. 55-62.

ชัชชญา เรืองยศ และแอนนา จุมพลเสถียร. (2565). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัย. Media and Communication Inquiry, Media and Communication Inquiry. 4 (1), น. 144-169.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : แดแนกส์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2557). การรู้เท่าทันสื่อ: ทักษะสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 32 (3), น. 74-91.

นักรบ นาคสุวรรณ. (2564). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาไทยในยุคดิจิตอล. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15 (1), น. 499-502.

นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (3), น. 209-219.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). สื่อสังคม. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566 จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=สื่อสังคม-4-ตุลาคม-2556

วชิราภรณ์ อำไพ และชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์จากสื่อในชีวิตประจำวันที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดไตร่ตรองการบริโภค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21 (3),

น. 242-256.

สาริศา จันทรอำพร. (2559). ภาวการณ์ปัจจุบันกับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (1), น. 83-93.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). Future of Internet: อนาคตของอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2566). THAILAND INTERNET USER BEHAVIOR 2022: รายงานการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566 จาก /https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิรินทร พิบูลภานุวัธน์, นันทิยา ดวงภุมเมศ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2563). สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ. Journal of Business, Economics and Communications. 15 (3), น. 174 - 191.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์. 26 (80), น. 147-161.

อุลิชษา ครุฑะเสน. (2556). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6 (3), น. 276-285.

Apple Inc. (2011). Challenge Based Learning: A Classroom Guide. Retrieved October 1, 2020, from https://images.apple.com/education/docs/CBL_Classroom_Guide_Jan_2011.pdf

Aufderheide, P. (1993). Media Literacy: A Report of the National Leadership. Washington, D.C.: The Aspen Institute.

Bédard, D., Lison, C., Dalle, D., Cote, D. & Boutin, N. (2012). Problem-based and project-based learning in Engineering and Medicine: Determinants of students’ engagement and persistence. Interdisciplinary Journal of Problem-based Learning. 6 (2), pp. 7-30.

Center for Media Literacy. (2005). Five key questions of media literacy. Retrieved 29 June 2021, from http://www.medialit.org/sites/default/files/14B_CCKQPoster+5

essays.pdf

Cinque, M., & Bortoluzzi, M. (2013). Promoting digital skills and critical awareness through online search and personal knowledge management: A Case Study. In P. Vittorini, R. Gennari, I. Marenzi, T. D. Mascio, & F. D. la Prieta (Eds.), 2nd International Workshop on Evidence-based Technology Enhanced Learning. (pp. 9–16). Heidelberg: Springer International Publishing.

Georgsen, M., & Ryberg, T. (2010). Enabling Digital Literacy: Development of Meso-level Pedagogical Approaches. Nordic Journal of Digital Literacy. 5 (2), pp. 88-100.

Hobbs, R. (2011). Digital and Media Literacy: connecting culture and classroom. United States of America: Corwin.

Jenkins, R. (2015). Integrating digital literacy into English language instruction: Companion learning resource. Washington, DC: U.S. Department of Education, Office of Career, Technical, and Adult Education.

Lombardi, M.M. (2007). Authentic learning for the 21st century: An overview. In D.G. Oblinger (Ed.), Educause learning initiative. Advancing learning through IT innovation. (pp. 1-12). Louisville, CO: EDUCAUSE.

National Association for Media Literacy Education. (2014). Media literacy defined. Retrieved 19 May 2021, from http://namle.net/publications/media-literacy-definitions/

Office of Educational Technology. (2016). Future Ready Learning Reimagining the Role of Technology in Education. Retrieved October 15, 2020, from https://tech.ed.gov/files/2015/12/NETP16.pdf

Potter, W.J. (2013). Media Literacy. (6th Ed). California: SAGE Publications.

Rule, A.C. (2006). Editorial: The components of authentic learning. Journal of Authentic Learning. 3 (1), pp. 1-10.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2011). Media and information literacy: Curriculum for Teachers. Retrieved October 19, 2021, from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000192971

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26