ศึกษาการสร้างรูปแบบชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • อนัญญา เอกจีน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • เพียงจันทร์ โมฟเฟ็ทท์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

สร้างรูปแบบ , ชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ , Mind Mapping Game

บทคัดย่อ

   

วัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อศึกษาการสร้างรูปแบบชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping

Game ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่าจำนวน 30 คน(เลือกแบบเจาะจง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game มีค่าความสอดคล้อง(IOC) =0.92 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของโรงเรียนบ้านพุเลียบคะแนนหลังการเรียนรู้โดยใช้ Mind Mapping Game มีค่าเฉลี่ย 6.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.70 สูงกว่าคะแนนก่อนใช้ชุดแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ย 3.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่าคะแนนหลังการเรียนรู้โดยใช้Mind Mapping Game มีค่าเฉลี่ย 7.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.34 สูงกว่าคะแนนก่อนใช้ชุดแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ย 3.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ซึ่งค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบทั้งสองโรงเรียนหลังการใช้ชุดฝึกทักษะสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพุเลียบและโรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่าที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ Mind Mapping Game โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางแต่มีสองประเด็นที่นักเรียนทั้งสองโรงเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากเหมือนกันคือ 1) กิจกรรมทำให้เรียนเข้าใจและสนุกสนานในการเขียนภาษาอังกฤษ 2) กิจกรรมทำให้นักเรียนเขียนภาษาอังกฤษได้

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.

กุหลาบ ปัญญาผ่องใส. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดย ใช้เกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท). เชียงราย : โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15.

กำพล ดำรงวงศ์. (2535). เกม. วารสารกองทุนสงเคราะห์. 5 (39), น. 11.

กฤติกา ศรียงค์. (2552). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แผนภูมิกราฟิก.วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ขวัญตา มากมูล. (2555). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 ด้วยแผนผังความคิด (Mind Mapping). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม.

จักราวุธ ลอยประเสริฐ. (2559). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะการจดจำโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเตรียมบัณฑิตพิชชาลัย โดยใช้ Mind Mapping. สงขลา : โรงเรียนเตรียมบัณฑิตพิชชาลัย.

ณัฐกา นาเลื่อน, ชญานิษฐ์ ด้วงสุด, กัลยาณี นุ่นมา, และชลลษา แผ่นทอง. (2560). การสอนโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูนที่มีต่อความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เนตรนภิศ นุกูลกิจ, เบญจวรรณ สรรเพ็ชร์, และญาณิศา สุทธิผาสุก. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปราจีนกัลยาณี. ปราจีนบุรี : โรงเรียนปราจีนกัลยาณี.

ปัญญาพร ปาละวันและอโณทัย พลเยี่ยม เพชรแสง. (2562). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษโดยใช้เกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. เพชรบูรณ์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พรรณฤดี จูเจริญ. (2560) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจต่อการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยการใช้แผนผังความคิดและการสอนแบบปกติ. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วารุณี สุขชูเจริญกิจ. (2556). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2544). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม.

สุภาษิต พาณยง. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้เกมการศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนรัฐวิทยา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540).วิธีสอนภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2543). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

อติพร การะกัน, นทัต อัศภาภรณ์, และสมเกียรติ อินทสิงห์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์และความรับผิดชอบโดยใช้เทคนิคการระดมสมองและแผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์. 24 (4), น. 288-297.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2539). การพัฒนาหลักสูตรในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2555). เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ : กรุงเทพมหานคร : หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

Amaal Al Masri and Majeda Al Najar. (2014) The Effect of Using Word Games on Primary-Stage Students Achievement in English Language Vocabulary in Jordan. American International Journal of Contemporary. Retrieved September 17, 2014, from http://www.aijcrnet.com/journals/Vol_4_No_9_September_2014/17.pdf.

Buzan, T. (1991). Use Both Sides of Your Brain. New York: Penquin Group.

Javis, D. J. (2002). The Process Writing Method. Retrieved November 7, 2021, from http://iteslj.org/Techniques/Jarvis-Writing.html.

Janina Gruss. ( 2016). Games as a tool for teaching English vocabulary to young learners. Retrieved November 10, 2021, from http://www.worldscientificnews.com/wp- content/uploads /2016/01/WSN-532-2016-67-109-1.pdf

Pinter,Donna Dac Krewdl. (1980). The Effect of an Academic Game on the Spelling Achievement of Third Grade. Dissertation Abstracts International. (2) p. 710-A.

Sahar Ameer Bakhsh. (2016). Using Games as a Tool in Teaching Vocabulary to Young Learners. Retrieved November 11, 2021, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1101751.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26