หลักสูตรฐานสมรรถนะสู่การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
หลักสูตรฐานสมรรถนะ , สมรรถนะผู้เรียน , ทักษะในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต ในสภาพปัญหาที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมและสภาวการณ์ของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 จะเห็นว่าผู้เรียนนั้นไม่สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา มาใช้ในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้เท่าที่ควร โดยมีปัจจัยสำคัญคือทำให้หลักสูตรการศึกษาในระดับต่าง ๆ ที่ยังไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ทำให้ผู้เรียนมีความรู้แต่ขาดทักษะและสมรรถนะในการใช้ความรู้ ความสามารถที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์ในชีวิตได้ ส่วนใหญ่จะเรียนรู้โดยการอาศัยการจำเป็นหลัก จึงมีความรู้ ความเข้าใจในระดับผิวเผิน ไม่รู้ลึก ไม่รู้จริง ไม่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ไม่รู้ศักยภาพและความถนัดของตนเอง ไม่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ยังเห็นว่าการเรียนรู้ไม่มีความหมายต่อตนเองและการดำรงชีวิตของตน จากปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลของครูผู้สอน ซึ่งเป็นผลมาจากหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจำนวนมากเกินไปและหลักสูตรที่อิงเนื้อหา รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดส่งผลทำให้การเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากหลักสูตรเป็นกรอบในการสอนของครู ดังนั้นควรมีการปรับหลักสูตรให้ไปในทิศทางที่นำสู่คุณภาพของผู้เรียนตามที่ต้องการ หากต้องการให้ผู้เรียนที่มีสมรรถนะสูง สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง การปรับปรุงหลักสูตรให้มีจุดมุ่งหมายสู่การพัฒนาฐานสมรรถนะ จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน เพราะเป็นแนวทางที่สามารถปรับทิศทางการเรียนการสอนสู่การพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพราะความสำเร็จในชีวิตของผู้เรียนขึ้นอยู่กับระดับสมรรถนะของผู้เรียนเอง ซึ่งหลักสูตรฐานสมรรถนะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 .(ฉบับปรับปรุง) กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับประชาชนและเข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เซ็นจูรี่.
ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2564) เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2565 http://competency. rmutp.ac.th/wp-content/uploads/ 2011/01/aboutcompetency.pdf. 11 ธันวาคม 2565.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562) แนวทางการพัฒนาสมรรพนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : เซ็นจูรี่.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธำรง บัวศรี. (2553). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2557). คิดสร้างสรรค์ : สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มารุต พัฒผล. (2562). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมวมัย. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2559) วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2564). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : อาร์แอนด์ป ริ้นท์
สุวิมล ว่องวาณิช. (2564) การวิจัยประเมินความต้องการจาเป็น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.(2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.
เอกรัตน์ หอมประทุม. (2566) หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร : เอช อาร์ เซ็นเตอร์
Provus, M. (1971). Discrepancy Evaluation for Educational Program Improvement and Assessment. California : McCutchan Publishing.
Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for School. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Tyler, R. W. (1971). Basic principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-01 (2)
- 2023-12-26 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว