การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงในการโฆษณาสินค้ากับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชูใจ สุภาภัทรพิศาล สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • อมรรัตน์ หงส์ทอง สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • ปริษฐา ถนอมเวช สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

พรีเซ็นเตอร์ , การตัดสินใจซื้อ , การโฆษณาสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้บุคคลมีชื่อเสียงในการโฆษณาสินค้าแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่เคยใช้เครื่องสำอางแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาการใช้บุคคลมีชื่อเสียงในการโฆษณาสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความสะดวก (Convenience Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า   1. การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงในการโฆษณาสินค้าแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านความดึงดูดใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.99, S.D. = 0.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกรายการ คือ หน้าตาและรูปลักษณ์ของพรีเซ็นเตอร์ทำให้ท่านรู้สึกสนใจ (= 4.07, S.D. = 0.96) สนใจพรีเซ็นเตอร์ที่เป็นบุคคลที่ท่านติดตามหรือชื่นชอบอยู่แล้ว (= 4.06, S.D. = 1.01) การใช้พรีเซ็นเตอร์ที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมสามารถสร้างความสนใจให้กับท่านได้ (= 3.92, S.D. = 1.03) และสนใจในพรีเซ็นเตอร์ที่เป็นเพศตรงข้าม (= 3.90, S.D. = 1.07) 2. การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.93, S.D. = 0.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกรายการ คือ ด้านความเคารพ (= 4.00, S.D. = 0.92) ด้านความดึงดูดใจ (= 3.99, S.D. = 0.86) ด้านความไว้วางใจ (= 3.95, S.D. =

0.86) และความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย (= 3.80, S.D. = 1.05)  ผลการทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณของการใช้บุคคลมีชื่อเสียงในการโฆษณาสินค้ากับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Cathy doll ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านความไว้วางใจ (β= 0.274) ด้านความเคารพ (β= 0.245) ด้านความดึงดูดใจ (β= 0.206) และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย (β= 0.120) นอกจากนี้สัมประสิทธิ์การพยากรณ์ปัจจัยทั้ง 4 ค่า (R = 0.766) สามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้ดี และสามารถอธิบายการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ Cathy Doll ในเขตกรุงเทพมหานคร (R2) ได้ร้อยละ 58.20 และมีค่าความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ (SE) เท่ากับ 49.07 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

จริยา แก้วหนองสังข์. (2564). อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียง (Influencer) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำหอมของผู้บริโภควัยทำงาน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น. (2560). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ สก๊อต ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนัญญา แสวงหาบุญ. (2565). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเคาน์เตอร์แบรนด์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). ฉลองครบ 10 ปี ตอกย้ำความสำเร็จแบรนด์ Cathy Doll. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2566, จาก www.mgronline.com.

สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2565). ตลาดอาเซียนครองแชมป์ส่งออกเครื่องสำอาง. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก www. Thaicosmetic.org.

อัจฉรา ลาดนาเลา และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิว Cathy Doll Love Phelotion ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน พิสิษฐ์ ศิริรัตน์ (บรรณาธิการ). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. (น. 895-906). นครราชสีมา : วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์.

Anjana, S.S., (2018). A study on factors influencing cosmetic buying behavior of consumers. International Journal of Pure and Applied Mathematics. 118 (9), pp. 453-459.

Ashwinkumar, A. S., (2022). Influence of Celebrity Endorsement towards Beauty Care Products. Journal of Contemporary Issues in Business and Government. 28 (4), pp. 1358 – 1367.

Cronbach, Lee J. (1970). Essential of psychological Testing. (3rd ed.) New York : Harper Row.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons Lnc.

Hair, J. F., Black, W.C., Babin, B. J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Ivaney, V., John, T.P., & Sidik, B. (2022). Effect of Celebrity Brand Ambassador's Credibility on Brand Passion on Wardah Cosmetic Users in Semarang City. IEOM Society International Proceedings of the International Conference on Industrial Engineering and Operations Management Nsukka, Nigeria. pp. 136-149.

Jyotsana, T. (2020). Role of Celebrity Endorsement in Advertising for Promotion and

Awareness. International Journal of Application or Innovation in Engineering & Management. 9 (6), pp. 100-111.

Kline, Rex B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. New York : The Guilford Press.

Lawshe, C. H. (2006). A quantitative approach to content validity. Personnel Psychology, 28(4), pp.563-575.

Likert, R. (1967). Attitude Theory and Measurement. New York: Willey & Son. pp. 90-95

Marc, A., Razan, A. M., & Khalil, G. (2015). The Effect of Celebrity Endorsement on Creating Brand Loyalty: An Application on the Lebanese Cosmetic Sector’s Demand. International Journal of Business Management and Economic Research. 6 (5), pp. 273-287.

Parichart, W., & Robert, J. M., (2016). The Influence of Perceived Celebrity Endorser Credibility in Advertising on Purchase Intention of Thai Consumers. Journal of Communication and Innovation NIDA. 3 (2), pp. 115-136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-24