ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพรของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

ผู้แต่ง

  • ทัตธนนันท์ คงขาว สาขาการพยาบาลพื้นฐานและพัฒนาวิชาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • วาสนา พงษ์สุภษะ สาขาการพยาบาลพื้นฐานและพัฒนาวิชาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคสมุนไพร, ค่านิยมการบริโภคสมุนไพร, ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพร ค่านิยมการบริโภคสมุนไพร และความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพรของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และหาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพรของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 340 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มแบบจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพร แบบสอบถามค่านิยมการบริโภคสมุนไพร และแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19  มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 0.95 และ  0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสหสัมพันธ์พหุคูณและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซามีพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพรอยู่ในระดับน้อย ( gif.latex?\bar{X}= 2.54 S.D.= gif.latex?\pm1.06)  มีค่านิยมการบริโภคสมุนไพรอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X} = 1.95 S.D.= gif.latex?\pm 0.54) มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{X}= 0.84 S.D.= gif.latex?\pm   0.14) คณะวิชามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = -0.26) ชั้นปีและค่านิยมการบริโภคสมุนไพรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคสมุนไพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.14 และ 0.78) ค่านิยมการบริโภคสมุนไพร คณะวิชา และความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 มีสหสัมพันธ์พหุคูณในการพยากรณ์พฤติกรรมการบริโภคสมุนไพร โดยมีค่าน้ำหนักความสัมพันธ์เท่ากับ 1.49 0.37 และ 0.73 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย 0.80 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ Y= -0.92+1.49 ค่านิยม - 0.37 คณะวิชา + 0.738 ความรู้

References

กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. (2564). กรมการแพทย์แผนไทยฯ ชูสมุนไพร เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง ตามศาสตร์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในสถานการณ์โควิด 19. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564,จาก https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/dtam-news/dn/7511- dn0046.html?fbclid=IwAR0u58Qgsh9LK - ltfQLdQ0NcSRKQ_Pai3hFM8OOMSIt0v5TX8_KBwCL 3RNQ.

กัญญาลักษณ์ สีสองสม และณรงค์ ใจเที่ยง. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของบุคลากร โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 6(ฉบับเพิ่มเติม), น. 155-170.

กลุ่มงานเภสัชกรรม และกลุ่มงานการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. (2563). อาหารสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันในภาวะที่มีการระบาดของโควิด 19. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://drive.google.com/file/d/1cSA0fWMrZP8I5hqCiFnE48tTDvYImoad/view.

กฤติเดช มิ่งไม้. (2560). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอ ท่าเรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชชา. 36(2), น. 56-69.

เฉลิมพรเกียรติ ปรุงโพธิ์, นวัตกร เข็มทอง, สุธาทิพย์ ศรีอ่อนจันทร์, กิ่งแก้ว มาพงษ์, ธนิสสา รามฤทธิ์, และ พัชราพร ดิษทับ. (2564). พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล. 32(2), น. 72-82.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ฐานบัณฑิตจำกัด.

ทิศนา แขมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ ศรีพิทักษ์, นิรชร ชูติพัฒนะ, และอิสระ ทองสามสี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. (น.1529-1545). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. (2564). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เรื่อง ยากับวัคซีนโควิด 19 มีผลกระทบต่อกันอย่างไร ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564 จาก

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info.php?id=589

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (2563, 26 กุมภาพันธ์). ราชกิจจาบุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง.น.1.

พนัส หันนาคินทร์. (2526). การสอนค่านิยมและจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: พิฑเณศ

พิษณุ อภิสมาจารโยธิน. (2557). รูปแบบการใช้การแพทย์แบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 34(3), น.171-189.

มณฑิญา กงลา และเกียรติรัตน์ คุณารัตนพฤกษ์. (2555). การบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้านของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในชนบท อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. 12(2), น. 66-79

มณีเนตร วรชนะนันท์. (2564). การศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่ออาหารไทย โดยใช้ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย. 15(2), น. 26-40.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโลกติดเชื้อ. (2564). สถานการณ์ Covid-19 ในประเทศไทย. ข้อมูลวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.moicovid.com/19/11/2021/ uncategorized/5611

สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์. (2562). รายงานผลการสำรวจการรับรู้ ความเชื่อมั่น และความนิยมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและบริการด้านการแพทย์แผนไทยของผู้บริโภค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์

สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2555). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน: โครงการเอกสารประกอบวิชาศึกษาทั่วไป คณะกรรมการบริหารหลักสูตรหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก: มปพ.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้. (2554). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สุดารัตน์ รองปาน, ภูษณ ไตรสุวรรณ, ณัฏฐธิดา สุวรรณรัตน์, มนัสนันท์ สันติภราดร, และเครือวัลย์ ห้วนก้ง. (2564). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราช- นครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 13(2), น. 48-64.

สุพัตรา สุภาพ. (2542). สังคมวัฒนธรรมไทย ค่านิยม: ครอบครัว: ศาสนา: ประเพณี. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพานิช.

สุภาพร ครุสารพิศิฐ. (2564). การบริหารจัดการวัคซีนในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.prd.go.th/th/file/get/file/20210126ea474216e81aa76e5e4e90e37183f164144943.

เสนาะ ขาวขำ. (2558). การใช้สมุนไพรตามพุทธานุญาตเพื่องานสาธารณสุขมูลฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรอนงค์ นิยมธรรม, มาลา เทพมณี, และวรเกียรติ ทองไทย. (2560). การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก วารสารวิจัยทางการศึกษา. 12 (1), น. 273-285.

Foxall, G.R. (2017). Behavioral Economics in Consumer Behavior Analysis. Retrieved November 19, 2021, from https://link.springer.com/content/pdf/10.1007%2Fs40614-017-0127-4.

Green, L.W. & Kreuter, M.W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. (4 th ed.). Newyork: McGraw-Hill Higher Education.

Klausmeier, H.J. (1971). Learning and Human Abilities: Educational Psychology. New York : Harper& Row

Kumanyika, S.K. (2008). Environmental influences on childhood obesity: ethnic and cultural influences in context. Physiology & Behavior. 94(1), pp.61-70.

McClelland, D. (1961). The Achieving Society. Princeton: D.Van Nostrand.

McQuail, D. (1994). Mass communication theory: An introduction. London, Thousand Oaks, New Delhi: SAGE.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2 nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30