ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผล, การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, โรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน 2) ศึกษาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน 4) สร้างสมการพยากรณ์การเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนโดยใช้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 279 คน โดยใช้เกณฑ์กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan (1970, pp. 607-610) และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก ปัจจัยทุกด้าน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.741 ร่วมกันทำนายการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน (R2) ได้ร้อยละ 54.900 และมีค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน โดยมีค่า F เท่ากับ 66.459 สร้างสมการทำนายได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
= 1.638 + 0.150 (X1) + 0.132 (X2) + 0.108 (X4) + 0.149 (X5) + 0.082 (X6)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
= 0.037 (X1) + 0.034 (X2) + 0.035 (X4) + 0.034 (X5) + 0.030 (X6)
References
ธันยพร บุญรักษา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนัก. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อน กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. ค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.kruchiangrai.net/wp-content/uploads/2019/11/PLC.pdf.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2559). รายงานการวิจัยปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร.
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครู และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. ค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf.
เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. ค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://online.fliphtml5.com/wbpvz/qeui/#p=2.
วาสนา ทองทวียิ่ง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุริยัน วะนา. (2559). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนเครือข่ายที่ 19 สำนักงานเขตบางเขน สำนักการศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เสาวคนธ์ ฉัตรวิไล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
DuFour, R. (2007). Schools as learning communities. Educatioanal Leadership. 61(8), pp. 6-11
Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities : Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Texas: Southwest Educational Development Laboratory.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว