การศึกษาแนวโน้มความต้องการในการเปิดหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ บุญสิทธิ์ สาขาสาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เครือมาศ ชาวไร่เงิน สาขาสาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กิตติปัทม์ แสงงาม งานบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

แนวโน้มความต้องการ, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) จุดมุ่งหมายและความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตร ของกลุ่มผู้เรียนในอนาคต 2) ความคิดเห็นและความต้องการใช้บัณฑิตในหลักสูตรของกลุ่มผู้ใช้บัณฑิตและ 3) ทิศทางการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 2 ประเภท คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์  ผลการวิจัย พบว่า 1. จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 คน ส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 72.73 โดยอยู่ระหว่างการตัดสินใจศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.05 ระยะเวลาที่ต้องการในการศึกษา พบว่า ระดับปริญญาโท ส่วนใหญ่ต้องการระยะเวลาเรียนภายใน 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 76.62 ปริญญาโทควบเอก ต้องการระยะเวลาเรียนภายใน 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.86 และปริญญาเอก ต้องการระยะเวลาเรียนภายใน 3 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.98 ส่วนใหญ่ต้องการรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้เฉพาะด้าน นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน รวมทั้งความเกี่ยวข้องกับงานและเพิ่มความมั่นคงก้าวหน้าในอาชีพได้  2. การสอบถามกลุ่มผู้ใช้บัณฑิต 20 คน มีความเห็นว่า ความรู้ด้านจิตวิทยา ทรัพยากรบุคคล แรงงาน และจิตวิทยาการทำงาน ทักษะการสื่อสาร การวางแผน การจัดการกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การทำงานเป็นทีม การเจรจาต่อรอง และเทคโนโลยี การมองโลกในแง่ดี การรับฟังความคิดเห็น ความพยายามและอดทน มีความสำคัญ 3. แนวทางการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน สรุปได้ว่า ผู้เรียนต้องมีองค์ความรู้หลักด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ การวิจัยและสถิติวิจัย ทักษะทางภาษา ประยุกต์ใช้หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ มีหลักเกณฑ์การรับเข้าที่เหมาะสม และมีสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น

References

กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์. (2563). จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับการทำงานในองค์การอย่างไร. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564, จาก ้https://smarterlifebypsychology.com/2020/01/16/81

ชนากานต์ สุวรรณรัตนศรี, ฉัตรมณี บัววรรณ, และชุติกร ปรุงเกียรติ. (2562). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรในยุคประเทศไทย 4.0. ใน สำราญ บุญเจริญ (บรรณาธิการ). การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562. น.306-314. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

ตวงพร รุ่งเรืองศรี. (2562). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 8 (1), น. 106-138.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ประพิมพา จรัลรัตนกุล. (2560). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564, จาก https://smarterlifebypsychology.com/2017/10/18

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จํากัด.

ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 4 (2), น. 136-159.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม, อําไพ จารุวัชรพาณิชกุล, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, ปิยะนุช ชูโต และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร. 42 (ฉบับพิเศษ), น. 129-140.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564, จาก https://www.acad.nu.ac.th/devcourse/docs/-2552.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ร่างกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.

Hall, S., & Villareal, D. (2015). The Hybrid Advantage: Graduate Student Perspectives of Hybrid Education Courses. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education. 27 (1), pp. 69-80. Retrieved MAY 15, 2022, from http://www.isetl.org/ijtlhe.

Learn Education. (2564). Blended learning. Retrieved September 21, 2021, from https://www.learneducation.co.th/blended-learning

Bailey, M., Gosper, M., Ifenthaler, D., Ware, C., & Kretzschema, M. (2018). On-campus, distance or online? Influences on student decision-making about study modes at university. Australasian Journal of Educational Technology. 34 (5), pp. 72-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30