การศึกษาการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ: กรณีศึกษาพื้นที่ย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับความผาสุกทางจิตวิญญาณ: กรณีศึกษาพื้นที่ย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ: กรณีศึกษาพื้นที่ย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ: กรณีศึกษาพื้นที่ย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวในเขตย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ คือ ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, T-test, ANOVA และChi-square Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวด้านอาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณ: กรณีศึกษาพื้นที่ย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวด้านโอกาสที่จะกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้งมีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ: กรณีศึกษาพื้นที่ย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครแตกต่างกันเนื่องจากนักท่องเที่ยวมีโอกาสที่จะกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้งสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) การท่องเที่ยวเชิงพุทธมีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ: กรณีศึกษาพื้นที่ย่านเมืองเก่า เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). ศูนย์วิจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก https://www.tat.or.th/th.
จุฑาภรณ์ หินซุย. (2557). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษาวัดประชาคมวนารามอำเภอ ศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 10 (1), น. 50-58.
สรัญพร สุรวิชัย. (2564). การพัฒนาจุดหมายปลายทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณกับพฤติกรรม นักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (1), น. 22-26.
สำนักงานเขตสำนักงานเขตบางกอกใหญ่. (2564). ข้อมูลการท่องเที่ยวเขตบางกอกใหญ่. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก http://www.bangkok.go.th
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). คุณภาพของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th
Alex Norman and Jennifer J.Pokorny. (2017). Meditation retreats: Spiritual tourism well-being interventions. Tourism Management Perspectives.
Buzinde, C. N. (2020). Theoretical linkages between well-being and tourism: The case of self-determination theory and spiritual tourism. Annals of Tourism
Cheer, J. M., Belhassen, Y., & Kujawa, J. (2017). The search for spirituality in tourism: Toward a conceptual framework for spiritual tourism. Tourism Management
Christine N.Buzinde. (2020). Theoretical linkages between well-being and tourism: The case of self-determination theory and spiritual tourism. Annals of Tourism Research.
Jaeyeon Choe and Michael O’ Regan (2020). Faith manifest: spiritual and mindfulness tourism in Chiang Mai, Thailand. Religions.
Moal-Ulvoas, G. (2017). Positive emotions and spirituality in older travelers. Annals of Tourism Research.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว