การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุชาติ คุ้มสุทธิ์ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ สาขาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์ สาขาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

หลักสูตรการฝึกอบรม, ความคิดสร้างสรรค์, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อ ส่งเสริมความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา โดยใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ ทาบา (Taba) และโอลิวา (Oliva) มี 11 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) การคัดเลือกและกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร 4) การคัดเลือกและรวบรวมมวลประสบการณ์ 5) กำหนดวิธีวัดและประเมินผล 6) การสร้างเอกสารหลักสูตร 7) การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร 8) การทดลองใช้หลักสูตร 9) การนำหลักสูตรไปใช้ 10) การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร 11) การติดตามผลหลังการใช้หลักสูตร ผลวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรการฝึกอบรม ที่พัฒนาประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร ระยะเวลาฝึกอบรม กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล ตารางฝึกอบรมนั้นมีความเหมาะสมในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (S.D. = 0.49) 2. ผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรม กับกลุ่มตัวอย่างพบว่า 2.1) ผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลการประเมินความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้หลังการฝึกอบรมของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถสูงกว่าเกณฑ์ที่ระดับดีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=25.67, p=0.000)

Author Biography

สุชาติ คุ้มสุทธิ์, สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อ   ส่งเสริมความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา โดยใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ       ทาบา (Taba) และโอลิวา (Oliva) มี 11 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) การคัดเลือกและกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร 4) การคัดเลือกและรวบรวมมวลประสบการณ์ 5) กำหนดวิธีวัดและประเมินผล 6) การสร้างเอกสารหลักสูตร 7) การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร 8) การทดลองใช้หลักสูตร 9) การนำหลักสูตรไปใช้ 10) การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร 11) การติดตามผลหลังการใช้หลักสูตร ผลวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรการฝึกอบรม ที่พัฒนาประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร ระยะเวลาฝึกอบรม กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล ตารางฝึกอบรมนั้นมีความเหมาะสมในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (S.D. = 0.49) 2. ผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรม กับกลุ่มตัวอย่างพบว่า 2.1) ผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลการประเมินความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้หลังการฝึกอบรมของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถสูงกว่าเกณฑ์ที่ระดับดีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=25.67, p=0.000)

 

References

กรมวิชาการ กองวิจัยการศึกษา. (2560). การสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกระทรวงอุตสาหกรรม.

กาญจนา คุณารักษ์. (2556). หลักสูตรและการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิเรก สุขสุนัย. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาความรู้ที่ยั่งยืน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (2558). เอกสารประกอบการประชุม Sustainable Development Goals: SDGs, 2030 (ครั้งที่ 70). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี

ธำรง บัวศรี. (2553). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.

ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ (2560). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดสร้างสรรค์ : สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มารุต พัฒผล. (2562). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมวมัย. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2558). ทฤษฎีและการพัฒนาหลักสูตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2558). ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

สมิทธิ์ เจือจินดา. (2559). ผลการติดตามการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. นิตยสาร สสวท. 42(186), น. 37

สมยศ เจตน์เจริญรักษ์. (2559) รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สำนักงานอธิการบดี. (2560). ยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) : เอกสารที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. กรุงเทพมหานคร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค. (2556). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.2552-2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

Beauchamp, G.A. (1981). Curriculum Theory. Itasca,Illinoise: F.E.Peacock Publisher.

Bobbitt Franklin, B.F. (1918). The Curriculum. Boston: Houghton Mifflin Company. Chicago press.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.

Clark, C.R., & Mayer, E.R. (2003). e-Learning and the science of instruction. San Francisco: John Wiley and Son.

Daniel, L. Stufflebeam, & Kappa, P.D. (1985). Education Evaluation and Decision Making. Lllinois: Peacock.

Guilford, J.P. (1956). Structure of intellect phycological. New York: McGraw-Hill Book, co.th.

Good, C.V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.

Jacobs, H.H. (2010). Curriculum 21 essential education for A changing world. Virginia: ASCD.

Oliva, P.F. (1973). Developing the curriculum. New York: Harper Collins.

Oliva, P.F. (1988). Developing the Curriculum. (2nd ed). Illinois: Scott, Foresman and Company.

Provus, M. (1971). Discrepancy Evaluation for Educational Program Improvement and Assessment. California: McCutchan Publishing.

Saylor, J.G., & Alexander, W.M. (1981). Curriculum planning for better teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Taba, H. (1962). Curriculum development and Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Torrance, E.P. And R.E Myers. (1962) Creative Learning and Teaching. New York: Good, Mead and Company.

Tyler Ralph W. (1964). A Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Tyler Ralph W. (1969). Basic principle of curriculum and instruction. University of Chicago press.

Watson , G., & Glaser, E.M. (1964). Watson Glaser Critical Thinking Appraisal Manual. New York : Harcourt, Brace and World Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30