การพัฒนาบัญชีคำภาษาไทยพยางค์เดียว สำหรับฝึกอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
บัญชีคำภาษาไทยพยางค์เดียว, สหลักษณ์ของอักษรและสี, ภาพสื่อความหมายบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความ 1) เพื่อพัฒนาบัญชีคำภาษาไทยพยางค์เดียว สำหรับฝึกอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาผลการใช้บัญชีคำดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2/2564 โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร จำนวน30 คน (กลุ่มอาสาสมัคร) และครูผู้จัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 82 คน (เลือกแบบเจาะจง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ (ค่าอำนาจจำแนก 0.42 – 0.75) แบบทดสอบการอ่านก่อนและหลังใช้บัญชี (ค่าอำนาจจำแนกมากว่า 0.8) และแบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์ (ค่าความเชื่อมั่น 0.78) ผลการวิจัยปรากฎว่า ผู้วิจัยคัดเลือกคำภาษาไทยพยางค์เดียวตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดจากคำที่มีความถี่สูง 5,000 คำ ของคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 369 คำ มาพัฒนาบัญชี 3 ประเภท ซึ่งใช้สหลักษณ์ของอักษรและสี ร่วมกับภาพสื่อความหมายทำหน้าที่เป็นรายการโยงและตัวช่วยทางปัญญา ค่าประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ตามประเภทชุดสระ ชุดที่ 1 – 3 ได้แก่ 76.20/74.67, 81.17/74.87 และ 76.20/73.33 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยด้านการอ่านออกเสียงหลังใช้สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมีค่าขนาดอิทธิพลระดับปานกลาง และครูผู้สอนมีความพึงพอใจภาพรวมระดับมาก
References
คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2552). Thai National Corpus คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. รายการคำพร้อมความถี่แจงแจงตาม genres 5000 คำแรก. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563, จาก http://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc/?smd_process_download=1&download_id=141
จิรวรรณ ภักดีบุตร. (2528). การสร้างบัญชีคำ. วารสารวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(1), หน้า 108 - 122. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8344
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), หน้า 8 - 20. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564, จาก http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf
ณัฐธยาน์ เชาว์เฉลิมกุล. (2554). การศึกษาความสามารถเขียนพยัญชนะไทย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย จากการสอนที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านร่วมกับการใช้สีเป็นรหัส. มหาวิทยาลัยสรีนครินทรวิโรฒ, ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564, จาก https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/1189
เนาวรัตน์ ถาวร. (2562, 25 สิงหาคม) การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านออก เขียนได้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๑. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองแก. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2553). ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล: หลักการและการใช้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2532). บัญชีคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3). ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564, จาก https://www.arts.chula.ac.th/~ling/TTC/id-4.html
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ภาษาไทย สาระที่ควรรู้ คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). รายงานการศึกษาคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ปีการศึกษา 2554. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551: (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564, จาก http://180.180.244.42/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExamWeb%2f
อิทธิพัฒน์ สุวทันพรกุล, อรอุมา เจริญสุข, มนตา ตุลย์เมธาการ, พนิดา ศกุนตนาค, และชวภณ สารข้าวคำ. (2565). รายงานผลการศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19: สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.onec.go.th/
แอดมินรักครู. (2560). แก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยสี ผลงานโรงเรียนบ้านหนองแก. รักครู. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563, จาก https://rukkroo.com/11334/
MGR Online. (2560, 24 พฤษภาคม 2560). คือดีงาม “โรงเรียนบ้านหนองแก” สอนภาษาไทย-อังกฤษ ด้วยการใช้สี. ค้นเมื่อ 26 มกราคม 2564, จาก https://mgronline.com/local/detail/9600000052724
Bacon, M. P., Bridgeman, B., & Ramachandran, V. S. (2013). Metacontrast masking is processed before grapheme–color synesthesia. Attention, Perception, & Psychophysics, 75(1), 5-9. Retrieved Januarary 26, 2021, from doi:10.3758/s13414-012-0401-1
Bonnel, A.-M., & Prinzmetal, W. (1998). Dividing attention between the color and the shape of objects. Perception & Psychophysics, 60(1), 113-124. Retrieved May 5, 2021, from doi:10.3758/BF03211922
Brang, D., Rouw, R., Ramachandran, V. S., & Coulson, S. (2011). Similarly shaped letters evoke similar colors in grapheme–color synesthesia. Neuropsychologia, 49(5), 1355-1358. Retrieved December 13, 2020, from doi:https://doi.org/10.1016/j.neuropsychologia.2011.01.002
Clark, R. C., & Lyons, C. (2011). Graphics for learning: proven guidelines for planning, designing, and evaluatng visuals in training materials (2nd ed). San Francisco: Pfeiffer.
Gibson, B. S., Radvansky, G. A., Johnson, A. C., & McNerney, M. W. (2012). Grapheme–color synesthesia can enhance immediate memory without disrupting the encoding of relational cues. Psychonomic Bulletin & Review, 19(6), 1172-1177. Retrieved October 27, 2000, from doi:10.3758/s13423-012-0306-y
Mayer, R. E., & Moreno, R. (2003). Nine Ways to Reduce Cognitive Load in Multimedia Learning. Educational Psychologist, 38(1), 43-52. Retrieved December 13, 2020, from oi:10.1207/S15326985EP3801_6
Meier, B., & Rothen, N. (2009). Training grapheme-colour associations produces a synaesthetic Stroop effect, but not a conditioned synaesthetic response. Neuropsychologia, 47, 1208-1211. Retrieved May 28, 2021, from doi:10.1016/j.neuropsychologia.2009.01.009
Miller, G. A. (1956). The magical number seven plus or minus two: some limits on our capacity for processing information. Psychological Review, 63 2, 81-97. Retrieved June 16, 2021, from http://spider.apa.org/ftdocs/rev/1994/april/rev1012343.html
Nihei, K. (2002). How To Teach Listening. Retrieved September 11, 2022, from https://files.eric.
ed.gov/fulltext/ED475743.pdf
Watson, M. R., Akins, K. A., & Enns, J. T. (2012). Second-order mappings in grapheme–color synesthesia. Psychonomic Bulletin & Review, 19(2), 211-217. Retrieved September 11, 2022, from doi:10.3758/s13423-011-0208-4
Watson, M. R., Blair, M. R., Kozik, P., Akins, K. A., & Enns, J. T. (2012). Grapheme-color synaesthesia benefits rule-based Category learning. Consciousness and Cognition, 21(3), 1533-1540. Retrieved December 27, 2020, from doi:https://doi.org/10.1016/j.concog.2012.06.004
Winskel, H. (2009). Reading in Thai: the case of misaligned vowels. Reading and Writing, 22(1), 1-24. Retrieved September 11, 2022, from doi:10.1007/s11145-007-9100-z
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว