การพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนสรรพวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก
คำสำคัญ:
การพัฒนาการบริหารงาน, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) ศึกษาผลการใช้แนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนสรรพวิทยาคม ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสรรพวิทยาคม จำนวน 144 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนโรงเรียนสรรพวิทยาคม จำนวน 350 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โครงการที่จะใช้ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 3.97) ปัญหาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวม พบข้อที่มีปัญหาทั้ง 5 ด้าน 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ควรมีการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นรูปธรรม ให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์ทั้งกายและใจ และให้จัดทำโครงการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ไปใช้ในสถานศึกษา 3) ผลการใช้แนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนสรรพวิทยาคม พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและนักเรียนโรงเรียนสรรพวิทยาคมที่มีต่อการนำโครงการไปใช้ ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.52, S.D. =0.20)
References
การุณ เชิดชู. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพร้าววิทยาคม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นาฏยา กลิ่นหอม. (2556). ความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายเขากระปุก อำเภอท่ายาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2559). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สหรัฐ เต็มวงษ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก https://www.ben.ac.th/main /content/download/1/PLC.pdf
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1. 2564. องค์ความรู้ PLC ของคุรุสภา. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จากhttps://sites.google.com/a/esdc.go.th/kpt1-plc/home/plc1
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กระทรวงศึกษาธิการแผนการศึกษาแห่งชาติ ปี 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สรรพวิทยาคม, โรงเรียน. (2564). คู่มือนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสรรพวิทยาคม ปีการศึกษา 2563-2565. ตาก: โรงเรียนสรรพวิทยาคม.
อัจฉราภรณ์ ปรางโท้. (2561). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities : Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Texas: Southwest Educational Development Laboratory.
Kosse, Stacy. (2007). Integrity of SAT Interventions : Relationship of Components to Student Outcomes. Dissertation Abstracts International. 67(7).
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.
Williams, F. M. (2008). Student Assistance Programs (SAP): An Organizational and Theoretical Perspective on Building Bridges for Healthy Youth. Dissertation Abstracts International. 68(8), p. 254.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว