แอปพลิเคชันเกมจับคู่ภาษามือไทย

ผู้แต่ง

  • ศรีสวคนธ์ แดงสอาด สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ภาษามือไทย, แอปพลิเคชันเกม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชันเกมจับคู่ภาษามือไทย 2) หาคุณภาพของแอปพลิเคชันเกมจับคู่ภาษามือไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สามารถพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชันเกมจับคู่ภาษามือไทยได้ 2) ผลการวิเคราะห์คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71, S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณารายด้านจากมากไปหาน้อย ด้านเนื้อหาความสมบูรณ์ของเนื้อหา ความสอดคล้องระหว่างข้อความ ภาพภาษามือไทย วิดีโอท่าภาษามือ ภาพ เสียง อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.86, S.D. = 0.38) เนื้อหามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ความถูกต้องของเนื้อหา เนื้อหามีความเหมาะสมกับผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71, S.D. = 0.49) การนำเสนอเนื้อหามีความชัดเจน เข้าใจง่าย อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.86, S.D. = 0.38) ด้านคุณภาพสื่ออยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.74, S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณารายด้านรายด้านจากมากไปหาน้อย ลักษณะของขนาด สีตัวอักษร มีความชัดเจน อ่านง่าย คุณภาพของเสียงมีความเหมาะสม ชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.86, S.D. = 0.38) ออกแบบหน้าจอได้เหมาะสม ง่ายต่อการใช้งาน คุณภาพของภาพมีความเหมาะสม ชัดเจน การออกแบบการใช้งาน มีความสะดวก ใช้งานง่าย น่าสนใจ สวยงาม สบายตา อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71, S.D. = 0.49) คุณภาพของวิดีโอมีความเหมาะสม ชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.57, S.D. = 0.53) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้ (นักเรียนที่พกพร่องทางการได้ยิน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป) จากแบบสอบถามที่มีต่อแอปพลิเคชันเกมจับคู่ภาษามือไทย โดยภาพรวมสรุปว่าอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.49, S.D. = 0.62) ของผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป สรุปว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.62, S.D. = 0.51) ของผู้ใช้ที่ไม่ได้ยินเสียง สรุปว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.60) ของบุคลากรทางการศึกษาที่ สรุปว่าอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.48, S.D. = 0.68) ของผู้ใช้ที่ได้ยินเสียงสรุปว่าอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.45, S.D. = 0.64) ของนักเรียนที่พกพร่องทางการได้ยินสรุปว่าอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.42, S.D. = 0.63) สรุปว่า แอปพลิเคชันเกมจับคู่ภาษามือไทย สามารถนำไปใช้ได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษาพุทธศักราช2552. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2538). การศึกษาสำหรับคนพิการในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

นุกร ศิลชาติ และลาวัณย์ ดุลยชาติ. (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. (2-3 มีนาคม, น. 1-8). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พจณิชา พันธ์จันทร์ และอุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา. (2560). การพัฒนาชุดเกมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ชนิดของคำและสำนวนสุภาษิตสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4. (10 มีนาคม, น. 381-391). เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

รวีพร จรูญพันธ์เกษม. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยอาศัยแอปพลิเคชันการอ่านออกเสียงด้วยระบบรู้จำเสียงพูดและเกมทายคำศัพท์ภาษาอังกฤษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 4 (1), น. 45-50.

วีนา โชติช่วง และชนาภา กระจง. (2559). แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้และฝึกทักษะภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปีด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5. (น. 52-62). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

อำไพ พรประเสริฐสกุล. (2537). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

Cairna,P, Power,C, Barlet,M & Haynes,G. (2019). Future design of accessibility in games: A design vocabulary. International Journal of Human-Computer Studies. 131, pp 64-71.

Herleson Paiva Pontes, Joao Batista Furlan Duarte & Placido Rogerio Pinheiro. (2020). An educational game to teach numbers in Brazilian Sign Language while having fun. Computers in Human Behavior. 107, pp. 1-13.

Lulong Salomons, Julia. (2017). A MOBILE LANGUAGE LEARNING APPLICATION: LEARN TO SIGN. Master of Science Faculty of Science, VU University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30