ภูมิปัญญาการรักษาโรคลมชักกับพหุลักษณ์ทางการแพทย์ในบริบทสังคมอีสาน

ผู้แต่ง

  • ชำนาญ ศรีโคตร สาขาศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เกียรติศักดิ์ บังเพลิง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญารักษาโรคลมชัก, พหุลักษณ์ทางการแพทย์, สมุนไพรไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการรักษาโรคลมชักในฐานะพหุลักษณ์ทางการแพทย์ กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกกลาง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้รู้ภูมิปัญญา ชาวบ้าน ผู้อาวุโส พระสงฆ์ นักวิชาการและเยาวชนในชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดภูมิปัญญาและพหุลักษณ์ทางการแพทย์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านโคกกลางมีภูมิปัญญาการรักษาโรคลมชักที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ในตระกูลแสนเย็น โดยส่งทอดมารุ่นต่อรุ่น ทำการรักษาอาการโรคลมชักให้กับผู้ป่วยในชุมชนและนอกชุมชน ภูมิปัญญาโรคลมชักประกอบด้วย ตัวยาที่สำคัญอยู่ 14 ชนิด คือ 1) คัดเค้า 2) คำรอก 3) ช่างน้าว 4) กระเชา 5) หูลิง 6) มะเดื่อปล้อง 7)ตาไก้ 8) อ้อยดำ 9) หัวหญ้าแห้วหมู 10) ข้าวเย็นเหนือ 11) กาฝากน้อยหน่า 12) กาฝากหม่อน 13) ใบขนุน และ 14) ข้าวสารเหนียว ในบริบทปัจจุบัน แม้การแพทย์สมัยใหม่จะเข้ามาครอบงำการรักษาการเจ็บไข้ได้ป่วย แต่การเห็นคุณค่าและนำภูมิปัญญาของชุมชนที่มีมาช้านานมาประกอบในการรักษาโรคด้วย นับเป็นพหุลักษณ์ทางการแพทย์ทำให้ชุมชนมีทางเลือกในการจัดการสุขภาพด้วยสมุนไพรท้องถิ่น และนำมาซึ่งการเห็นคุณค่าและความภาคภูมิใจในมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรปี 2560-2564. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

เกียรติศักดิ์ บังเพลิง. (2558). ชุมชนชาติพันธุ์ "บรู" ร่วมสมัยบนพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว: วิถีชีวิตและการ ปรับตัวทางวัฒนธรรม. (ดุษฎีนิพนธ์สาขามานุษยวิทยา), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2549). พหุลักษณ์ทางการแพทย์: มุมมองมานุษยวิทยากับความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพ. ในพหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

กรุณา จันทุม และ กัลยารัตน์ กำลังเหลือ. (2560). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณของหมอพื้นบ้าน. นิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ณวิญ เสริฐผล. (2563). การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัตน์, วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5 (2)

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์, สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

ทิพย์วารี สงนอก และนนทิยา จันทร์เนต. (2561). ภูมิปัญญาด้านการบำบัดรักษาโรคของหมอยาพื้นบ้านในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 12 (3)

ปิยนุช ยอดสมสวย. (2556). การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ, ธรรมศาสตร์เวชสาร. 13 (2)

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2548). ทบทวนภูมิปัญญา ท้าทายความรู้. ใน ดาริน อินทร์เหมือน (บรรณาธิการ), ภูมิปัญญาไทย-ภูมิปัญญาเทศ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

พรทิพย์ แก้วชิณ และ นฤทธิ์ พลสูงเนิน. (2558). การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา, ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา. น. 136-143

สัมพันธ์ กล่ำโกมล และทรงคุณ จันทรจร. (2560). การอนุรักษ์สมุนไพรไทยอายุวัฒนะเกี่ยวกับการดูแลสมรรถภาพทางเพศชาย. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (2 (ฉบับพิเศษ)), น. 1-11.

สาวิตรี ไชยบุญตา. (2550). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาและการรักษาโรคด้วยการนวดแบบเขี่ยเส้นล้านนา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรสม กฤษณะจูฑะ. (2558). สมุนไพรข้ามแดนและภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านลูกผสม. ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เทพรินทร์ พัชรานุรักษ์ และปารณัฐ สุขสุทธิ์ (บรรณาธิการ), วัฒนธรรมสุขภาพในสังคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์.

สุทธิพร รัตนธร ศรัทธา. (2553). ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนแนวพุทธในทัศนะของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภรัชต์ อินทรเทพ, สุวารีย์ ศรีปูณะ และผมหอม เชิดโกทา. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน จังหวัดสระแก้ว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (3), น. 275-285.

สังคม ศุภรัตนกุล. (2561). การเลือกแบบแผนการรักษาการเจ็บป่วยของครัวเรือนในพื้นทีชนบทอีสาน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 11 (2).

สมสงวน ปัสสาโก, อังศุมา ก้านจักร์, ชมภู่ เหนือศรี และวรรณภา เหลี่ยมสิงห์ขร. (2557). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดในป่าชุมชนโคกใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน. 1 (2), น. 95-109.

สมภพ ประธานนุรารักษ์ และพร้อมจิต ศรลัมพ์. (2552). สมุนไพร การพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

Bourdieu, P. (2018). Habitus: Sebuah perasaan atas tempat. Jurnal Kajian Ruang Sosial-Budaya, 1( 2), pp. 153-159

Durkheim, E. (1915). The elementary forms of the religious life (J. W. Swain, Trans.). London: George Allen and Unwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30