การพัฒนาสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนคลองตะโหนด มีนบุรี บนฐานอัตลักษณ์ชุมชน

ผู้แต่ง

  • ภควัต รัตนราช สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • แสงระวี กระจ่างศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • กนกพรรณ วิบูลยศริน สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • วิมล มิระสิงห์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

สื่อท่องเที่ยว, โปรแกรมท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนคลองตะโหนด มีนบุรี บนฐานอัตลักษณ์ชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนคลองตะโหนดมีภูมิปัญญาด้านอาหารที่โดดเด่น มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ น้ำพริกเผาเห็ดนางฟ้าภูฏาน และเห็ดสวรรค์ สามารถเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารได้ ด้านกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยว มีที่มาจากความต้องการของชุมชนในการยกระดับรายได้ของคนในชุมชน คณะผู้วิจัยได้ขยายเส้นทางการท่องเที่ยวจากโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เคยจัดมาก่อนมายังชุมชนคลองตะโหนด ด้านการผลิตสื่อท่องเที่ยว คณะผู้วิจัยได้ผลิตสื่อวีดิทัศน์ในรูปแบบรายการสารคดีท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่าสื่อสามารถสร้างการรับแหล่งท่องเที่ยวได้ ด้านกระบวนการผลิตสื่อท่องเที่ยว คณะผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชนและนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ นำมาผลิตสื่อท่องเที่ยวด้วยการบูรณาการแนวคิดระหว่างผู้ผลิตสื่อมืออาชีพและนักศึกษาที่เป็นกลุ่มเยาวชน ผลการประเมิน พบว่า นักท่องเที่ยวพึงพอใจแหล่งท่องเที่ยวสะท้อนถึงวิถีชีวิต ความเป็นธรรมชาติ และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นมากที่สุด รองลงมา คือ ความประทับใจต่อแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนและจะกลับมาเที่ยวซ้ำ ส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวเข้าใจเนื้อหาในสื่อวีดิทัศน์มากที่สุด รองลงมา คือ ความประทับใจภาพในสื่อวีดิทัศน์

References

ครรชิต มรพจน์ และ ทักษินาฏ สมบูรณ์. (2559). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการเรียนรู้ : กรณีศึกษาตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 11(2), น. 23-36.

ชวรินทร์ สุดสวาท, อติคุณ เลรามัญ, นภัสนันท์ วินิจวรกิจกุล, สุประภา สมนักพงษ์, และอนัญญา รัตนประเสริฐ. (2565). การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นบ้านล้านนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(2), น. 405-417.

นันทิยา ตันตราสืบ และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2561). การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นล้านนาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 11(1), น. 97-106.

ปนัดดา สร้อยศรี. (2563). การใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์เพื่อการรายงานข่าวโทรทัศน์. วารสารวิชาการกสทช. 6(2), น. 132-154.

ปรัชญา เปี่ยมการุณ. (2562). ภูมิทัศน์สื่อ ภายใต้บริบทการสื่อสารการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(1), น. 113-119.

พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). นวัตกรรมการสื่อสารกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(2), น. 200-210.

เมธาวี จำเนียร. (2559). การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องที่ยว. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 6(1), น. 235-256.

สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(2), น. 474-488.

องค์กรบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2558). ชุดความรู้ถอดบทเรียนการท่องเที่ยวโดยชุมชน เล่มที่ 1 ประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร : องค์กรบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.

องค์กรบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2558). การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชน. กรุงเทพมหานคร : องค์กรบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.

องค์กรบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2565). ทำความรู้จักกับ astronomy Tourism. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จากhttps://www.dasta.or.th/th/article/429.

Berger, A. A. (2008). Tourism and Popular Culture in the International Encyclopedia of Communication. (11 th ed). Oxford: Blackwell Publishing.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management. (14 th ed.). London: Pearson.

Krittanai Ngernyuang, & Pei-Ying Wu. (2020). Using social media as a tool for promoting festival tourism. International Journal of Computer Science & Information Technology. 12(3), p. 17-32.

Srikakulam, A. P. (2017). Role of media in tourism & new communication technologies. International Journal for Innovative Research in Multidisciplinary Field. 3(1), p. 35-39.

Wilcox, D. L., Cameron, G. T., & Reber, B. H. (2014). Public relations: Strategies and tactics. (7 th ed). Poston: Pearson.

Yapparova, P. (2013). Best media for advertising local tourism among the Russian Tourists. Bachelor’s thesis Degree programme in International Business, University of Applied Science.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30