กลยุทธ์การจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดสมัยใหม่ ในยุคนิวนอร์มัล

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิศนันท์ อุปรมัย สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปภาวัลย์ สุทธิประสิทธิ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บทคัดย่อ

กลยุทธ์การจัดจำหน่ายในการตลาดสมัยใหม่ แบ่งได้เป็นสองกลยุทธ์หลัก คือ การจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดสมัยใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนสถานะจากผู้เยี่ยมชมสินค้าให้เป็นลูกค้าใหม่ เปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็นลูกค้าที่มีการซื้อสินค้าอย่างสม่ำเสมอ เปลี่ยนลูกค้าที่มีการซื้อสินค้าอย่างสม่ำเสมอให้เป็นผู้สนับสนุนที่มีความจงรักภักดี และผู้สนับสนุนที่มีความจงรักภักดีให้เป็นลูกค้าที่พร้อมจะบอกต่อสินค้าให้กับผู้อื่นของธุรกิจ กลยุทธ์การจัดจำหน่ายจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดที่สามารถเปลี่ยนจากต้นทุนการผลิตมาเป็นกำไรของธุรกิจ ส่วนกลยุทธ์ที่สองเป็นกลยุทธ์การกระจายสินค้าเพื่อส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ลูกค้ามีความเป็นเจ้าของสินค้าทันทีที่มีการชำระเงินค่าสินค้า ดังนั้นกลยุทธ์การกระจายสินค้าที่ดีต้องมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นเป้าหมายและทิศทางในการพัฒนาระบบการกระจายสินค้าในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทำให้ระบบการจัดจำหน่ายจะสามารถการบริหารจัดการตัวเองได้อย่างมีอิสระ สามารถสื่อสารกับผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่าย และลูกค้าโดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์ และจัดระบบการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพสำหรับลูกค้าแต่ละราย ดังนั้น นักการตลาดในอนาคตจำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้สามารถวางแผน คัดเลือก และใช้งานระบบการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสินค้าของธุรกิจด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต

References

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ราชบัณฑิตบัญญัติ “นิวนอร์มอล”-“ความปกติใหม่”. ไทยรัฐ. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1843766.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). เจาะ 4 เทรนด์ผู้บริโภคปี 65. ผู้จัดการ. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565, จาก https://mgronline.com/business/detail/9640000125226.

พรรณวดี เลิศลุมพลีพันธุ์. (2563). แพลตฟอร์ม: เปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 14(1), น. 150-157.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์(อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐฐา สมประสงค์ และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทยไลอ้อน แอร์ เส้นทางภายในประเทศ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 10(2), น. 147-155.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020_Slides.aspx.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ Gen Z ใช้เน็ตสูงสุด ปีแรก ชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx.

สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565. จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal.

Anderson, J. C., & Narus, J. A. (1998). Business marketing: understand what customers value. Harvard Business Review. Retrieved April 29, 2021, from https://hbr.org/1998/11/business-marketing-understand-what-customers-value.

Aulia, S. A., Sukati, I., & Sulaiman, Z. (2016). A review: customer perceived value and its dimension. Asian Journal of Social Sciences and Management Studies. 3(2), pp.150-162.

Baran, R.J. and Galka, R.J. (2013). CRM: The Foundation of Contemporary Marketing Strategy. New York: Routledge.

Batra, R., Zhang, Y.C., Aydinoglu, N.Z. and Feinberg, F.M. (2017). Positioning Multicountry Brands: The Impact of Variation in Cultural Values and Competitive Set. Journal of Marketing Research, 54(1), pp.914-931.

Blythe., J. (2014). Principles & Practice of Marketing. (3 rd ed). London: SAGE Publication.

Brennan, R., Baines, P., Garneau, P. and Vos, L. (2008). Contemporary Strategic Marketing. (2 nd ed). London: Palgrave Macmillan.

Hastings, G. (2007). Social Marketing: Why Should the Devil have All The Best Tunes?. New York: Routledge.

Hudak, M., Kianickova E. and Madlenak R. (2017). The Importance of E-mail Marketing in E-commerce. Procedia Engineering, 192(1), pp.342-347.

Kurtz, D.L. (2015). Contemporary Marketing. (17 th ed). Boston: Cengage Learning.

Lindgreen, A., Palmer, R. and Vanhamme, J. (2004). Contemporary Marketing Practice: Theoretical Propositions and Practical Implications. Marketing Intelligence & Planning, 22(1), pp.673-692.

Marshall, G.W. and Johnston, M.W. (2015). Marketing Management. (2 nd ed). New York: McGraw-Hill.

McDaniel, C., Lamb, C.W. and Hair, JF. Jr. (2011). Introduction to Marketing. (11 th ed). Boston: Cengage Learning.

Punpukdee, A., Wattana, C., Punpairoj, W., Srichuachom, U., Yaklai, P., & Trongtortam, S. (2021). Key Factors Affecting Consumer Behavior in the Thailand Offline Marketing: Research Synthesis by Systematic Literature Review and Data Mining Techniques. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. 15(2), pp. 21-32.

Ranchhod, A. and Gurau, C. (2007). Marketing Strategies. (2 nd ed). New Jersey: Prentices Hall.

Roberts, M.L. and Zahay, D. (2013). Internet Marketing: Integrating Online and Offline Strategies. Boston: Cengage Learning.

Statista. (2021, July 29). Social media platforms used by marketers worldwide 2021. Retrieved April 9, 2022, from https://www.statista.com/statistics/259379/ social-media-platforms-used-by-marketers-worldwide.

Strauss, J. and Frost, R. (2014). E-Marketing. New York: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30