การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการฟังและการอ่านภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวัตรวิทยา

ผู้แต่ง

  • ภัชณีย์ เสาวภาคพฤกษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ สาขากลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ , การฟังและการอ่านภาษาจีน , ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านการฟังและการอ่านภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวัตรวิทยา 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์ของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ของโรงเรียนราชวัตรวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 19 คน ซึ่งเป็นการวิจัยก่อนเชิงทดลอง (Pre experiment) แบบ One group pretest-posttest design  โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีน 2) ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านการฟังและการอ่านภาษาจีน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยและมีการหาคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้หลักการของ ADDIE Model และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านการฟังและการอ่านภาษาจีน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์ มีสถิติที่ใช้คือ Dependent t-test และสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์ มีคะแนนการสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ใบงานเชิงปฏิสัมพันธ์อยู่ในระดับดีที่สุด

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ วิจัย. 5 (1), น.5-20. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จากhttp://www4.educ.su.ac.th/2013/ images/stories/081957-02.pdf.

ดาวรถา วีระพันธ์ และ ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14 (3), น.92-100.

ธนกฤต โพธิ์ขี และ ศรีสุภัค เสมอวงษ์. (2559). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ TUKTUK ตะลุย ภาษา สำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.

ผ่องพรรณ เสาวภาคพฤกษ์. (2564, 25 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์. ผู้จัดการ. โรงเรียนราชวัตรวิทยา.

ภาณุเดช จริยฐิตินันท์. (2562). สภาพการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564. จาก http://www.brmpeo.moe.go.th/schoolmapping/Article-Detail/18.

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง. (2020). ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจจีน. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564. จาก https://thaiembbeij.org/th/republic-of-china/investment.

สุรีพร ไตรจันทร์. (2557). สภาพปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยยุคปัจจุบันของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทมุธานี. 6(2), น.195-199.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.

Nathan Xu, 2012. ความสำคัญของการศึกษาภาษาจีนกลางในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.gotoknow.org/posts/236881&anno=2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30