นวัตกรรมการพัฒนาเชิงวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลตาม มาตรฐานการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ดวงเดือน พันธุมนาวิน คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ดุจเดือน พันธุมนาวิน คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

นวัตกรรมทางสังคม, จิตพลังจริยธรรม, นวัตกรรมการพัฒนาจิต-ทักษะอาจารย์เพื่อพัฒนาศิษย์

บทคัดย่อ

การพัฒนาย่อมประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ยากถ้าขาดนวัตกรรมที่อยู่บนฐานวิชาการ ในปัจจุบันการแก้วิกฤติในสังคมต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางแก่นักพัฒนาว่าจะต้องพัฒนาอะไรบ้างที่เกิดผลต่อการพัฒนาประชาชนให้เป็นคนดีที่เก่ง และมีความสุขให้ได้มาก และทั่วถึงกว่าแต่ก่อน และจะต้องใช้วิธีพัฒนาอะไร อย่างไร จึงจะประหยัดและเกิดผลคุ้มค่า บทความนี้จึงนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมที่ระบุว่า ถ้าต้องการพลเมืองที่ดีของชาติจะต้องพัฒนา “จิตพลังจริยธรรม” คือจิตที่สำคัญ 4 ด้าน คือ (1) ลักษณะมุ่งอนาคต ควบคุมตน (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (3) ความเชื่ออำนาจในตน และ (4) ความคิดและ เหตุผลเชิงจริยธรรม เพื่อให้สามารถบรรลุมาตรฐานการสอนระดับอุดมศึกษามากขึ้น ได้มีการสร้างกิจกรรมพัฒนาจิตและพัฒนาทักษะการสอนแก่อาจารย์ เพื่อให้สามารถพัฒนาจิตพลังจริยธรรมควบคู่ไปกับเนื้อหาในวิชาที่สอนนักศึกษา เช่น การสอนวิชาแรกของหลักสูตรร่วมกับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสอนอ่านตำราและบทความวิชาการร่วมกับการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การสอนทฤษฎีให้มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติร่วมกับการพัฒนาอย่างยึดหลักการคิด และจริยธรรมขั้นสูง และการสอนการวิจัยร่วมกับการพัฒนาความใฝ่สัมฤทธิ์และความพยายาม เป็นต้น ชุดพัฒนาอาจารย์ที่สร้างใหม่นี้มีจำนวน 30 กิจกรรม มีการทดลองใช้แล้ว 10 กิจกรรม กับอาจารย์เกือบ 400 ท่าน จาก 10 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ด้วยการประเมินโดยใช้การวิจัยเชิงทดลองเต็มรูป พบว่ามีผลดีตามคาด และใช้ได้กับทุกสาขาวิชา ดังนั้น มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทั้งหลาย ควรเห็นความจำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุนการใช้นวัตกรรมการพัฒนาจิตและทักษะอาจารย์ที่ได้สร้างขึ้นใหม่นี้ เพราะจะสามารถตอบสนองต่อการบรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาได้อย่างชัดเจน ผู้สนใจนวัตกรรมการพัฒนาจิตและพฤติกรรมที่นำเสนอมานี้ สามารถติดต่อกับผู้เสนอและผู้เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเหล่านี้ตามชื่อในรายการเอกสารอ้างอิงหลังบทความนี้

References

กฤษณะโชติ บัวหล้า. (2561). ปัจจัยทางจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมุ่งมั่นในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เป็นรุ่นแรกของครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม.

โกศล มีคุณ และ ณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลของการฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมของครู. รายงานการวิจัย โครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2559). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมในทศวรรษที่สี่ (พ.ศ. 2549-2559). ใน บังอร โสฬส และคณะ. (บก.) สี่ทศวรรษใต้ร่มทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. น. 80-99.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2530). ชุดฝึกอบรมการเสริมสร้างคุณลักษณะของข้าราชการพลเรือน. สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และ ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2559). ข้อเสนอแผนงานวิจัย “จิตพลังจริยธรรมในการวิจัยและฝึกอบรมผู้สอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา” คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2553). ทฤษฎีและผลการวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการวิจัยและพัฒนาบุคคลและสังคม. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 224-241.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน และ อัมพร ม้าคนอง. (2552). การฝึกอบรมจิตลักษณะและทักษะแบบบูรณาการที่มีผลต่อพฤติกรรมการพัฒนานักเรียนของครูคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วรวรรณ อัศวกุล. (2553). การวิจัยที่นำการพัฒนามารดาไปสู่ความสำเร็จในการดูแลทันตสุขภาพบุตรก่อนวัยเรียน: การวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์สองเรื่องที่ต่อเนื่อง. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์ระบบพฤติกรรมไทย, 7(1-2), 11-65.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558. ในประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558.

American Psychological Association (2013). APA guideline for the undergraduate psychology major version 2.0. Retrieve from http://www.apa.org/ed/precollege/ about/ psymajor-guidelines.pdf.

Bhanthumnavin, D. (2015). Development and Validation of Research-based Performance Scale in Thai Scholars. International Journal of Psychology and Behavioral Sciences. 5(5), 193-200.

Bhanthumnavin, D. (2018). Academic Inculcating Behavior Scale and Validation using CSE and PsyCap in Diverse Faculty Members. International Journal of Engineering & Technology. 7(4.38), 1323-1326.

Bhanthumnavin, D. (2020). Shaping Responsible Individual Character Scale (SRICS): Development and Incremental Predictive Validity on Professional Identity Beyond CSE and PsyCap in University Instructors. (6 th ed) International Conference in Education ICEDU 2020, (3-4 th ed) April 2020, Bangkok, Thailand.

Bhanthumnavin, D., Bhanthumnavin, D. & Sorod, B. (2018). Construction of Attitude Towards Punctuality Scale for University Students and Relationships to CSE and FTP. International Journal of Engineering & Technology. 7(4.38), 1319-1322.

Bhanthumnavin, D., Bhanthumnavin, D. (2015). Development of Research-Like Activities in Everyday Life Measure and Association with Core Self-Evaluation Scale in Thai Undergraduate Students. International Journal of Applied Psychology. 5(4), 103-108.

Boelman, V., Kwan, A., Lauritzen, JRK., et. Al. (2014). Growing Social Innovation: a Guide for Policy Makers. European Commission Research Program.

Duncan, G.J., Magnuson, K. & Votruba-Drzal E.. (2017). Moving Beyond Correlations in Assesing the Consequences of Poverty. Annual Review of Psychology. 68, 413-434.

Flay, B.R., Biglan, A., Boruch, R.F., Castro, F.G., Gottfredson, D., Kellam, S., Moscicki, E.K. Schike, S., Valentine, J.C. & Ji, P. (2005). Standards of Evidence: Criteria for Efficacy, Effectiveness and Dissemination. Prevention Science, 6(3), 151-175.

Judge, T. A., Erez, A., Bono, J. E., & Thoresen, C. J. (2003). The core self-evaluations scale: Development of a measure. Personnel Psychology. 56(2), 303-331.

Leedy, P.D., & Ormrod, J.E. 2015. Practical Research Planning and Design. Eleventh Edition Global Edition. New York: Pearson.

Luthans F, Avolio BJ, Avey JB, Norman SM. (2007). Psychological capital: Measurement and relationship with performance and job satisfaction. Personnel Psychology. 60, 541–572.

Mayhew, M.J., Rockenbach, AN., Bowman, N.A., Seifert, T.A. & Wolniak, G.C. 2016. How College Affects Students. 21st Century Evidence That Higher Education Works. Volume 3, Jossey-Bass.

Nation, M., Crusto, C., Wandersman, A., & Kumpfer, K.L. 2003. What Works in Prevention: Principles of Effective Prevention Programs. American Psychologist. 58(6/7), 449-456.

Sassower, R. 2017. Causality and Correlation. The Wiley Blackwell Encyclopedia of Social Theory.

Steel, D. 2003. Social Mechanisms and Causal Inference. Philosophy of the Social Science. 34(1), 55-78.

Upah, K.N. 2017. Comparing First-Generation and Continuing-Generation College Students’ Self-Efficacy, Campus Involvement, and Academic Performance. Honors Program Theses, 262 pp. A Thesis Submitted

Zigler, E., Pfannenstiel, J. C., & Seitz, V. 2008. The Parents as teachers progeam and school success: A Replication and Extension. The Journal of Primary Prevention. 29(2), 103-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29