การวิเคราะห์ความก้าวร้าวและความรุนแรงจากสือโดย The General Aggression Model (GAM)

ผู้แต่ง

  • นิรมล บางพระ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ความก้าวร้าว, ความรุนแรง, The General Aggression Model (GAM)

บทคัดย่อ

ยุคแห่งศตวรรษที่ 21 ยุคแห่งการสื่อสารที่ก้าวข้ามระยะทางและระยะเวลาของการสื่อสาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสื่อสารไร้พรมแดนอย่างแท้จริง รูปแบบการสื่อสารของสื่อมวลชนมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะไปจากเดิมที่เคยเป็น ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสารหรือวารสารนั้นมีการปรับตัวเป็น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ E-Magazine E-Book E-Journal หรือแม้แต่รายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกอากาศจากระบบอนาล็อกเปลี่ยนเป็นการออกอากาศในระบบดิจิทัล อีกทั้งยังออกอากาศคู่ขนานไปพร้อมกับระบบออนไลน์และแอปพลิเคชั่นของแต่ละสถานีหรือแต่ละรายการควบคู่กันไป แม้ว่ารูปแบบของสื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของลักษณะการสื่อสารและระบบการออกอากาศแต่ทว่าเนื้อหาของการนำเสนอนั้นยังคงคล้ายเดิมและยังปรากฏเนื้อหาของความรุนแรงจากสื่ออย่างต่อเนื่อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องความรุนแรงจากสื่อนั้นมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันคือ ประเด็นในการศึกษาเรื่องอิทธิพลของสื่อที่ส่งผลต่อผู้รับสาร ซึ่งมาจากพื้นฐานความเข้าใจทางด้านศาสตร์ทางการสื่อสารที่เชื่อว่า สื่อทรงอิทธิพลต่อผู้รับสาร สื่อสามารถสร้างการเรียนรู้ สื่อสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและยังส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร แนวคิด The General Aggression Model (GAM) เป็นแนวคิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสื่อ แนวคิดนี้ได้มีการนำหลายทฤษฎีมาผนวกรวมและนำมาวิเคราะห์สื่อที่ปรากฏเนื้อหาของความก้าวร้าวและความรุนแรง อันได้แก่ Social Learning Theory Cognitive Neoassociation Theory และ Script Theory เป็นต้น โดยแนวคิด The General Aggression Model (GAM) นั้นเป็นการรวบรวมหลายทฤษฎีเพื่อมาปิดช่องว่างของแต่ละทฤษฎีในการวิเคราะห์ผลกระทบเรื่องก้าวร้าวและรุนแรงที่เกิดจากการเปิดรับสื่อ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบจากสื่อได้ทั้งสื่อเก่าและสื่อใหม่ในปัจจุบันได้

References

นิรมล บางพระ. (2558). การพัฒนาตัวชี้วัดความรุนแรงต่อสตรีในรายการโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาเอกหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2558

นิรมล บางพระ. (2559). การพัฒนาตัวชี้วัดความรุนแรงต่อสตรีในรายการโทรทัศน์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 16 (2) น.24

นิรมล บางพระ. (2561). ความรุนแรงต่อสตรีในละครโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรง ของเพศชายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์. 22 (1) น.225

ธีระศักดิ์ พรหมดิเรก. (2560). ความขัดแย้งและความรุนแรงในมิวสิควิดีโอเพลงไทยร่วมสมัย กรณีศึกษา: เพลง ปาน ธนพร แวกประยูร. การค้นคว้าอิสระ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ปิลันลน์ ปุณญประภา และ วรรณวรุณ ตั้งเจริญ. (2560). นวัตกรรมความก้าวร้าวจากเกมออนไลน์.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5 (1) น.146

วัชรินทร์ จามจุรี. (2550). ศึกษาความสัมพันธ์ภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

C. Nathan DeWall, Craig A. Anderson and Brad J. Bushman. (2011). The General Aggression Model: Theoretical Extensions to Violence. Psychology of Violence. 2011, 1, (3), pp.245–258

Craig A. Anderson and Brad J. Bushman. (2018). Media Violence and the General Aggression Model. Journal of social issues in press, 74, (2), pp386-413

Craig A. Anderson and Brad J. Bushman. (2002). Human Aggression. Annual Review of Psychology, 53, pp.27-51. (Volume publication date February 2002)

Fotis Lazarinis. (2010). Online risks obstructing safe internet access for students. Technological Educational Institute of Mesolonghi, Mesolonghi, Greece, The Electronic Library 28, (1), pp. 157-170. Emerald Group Publishing Limited

Huesmann, L. Rowell. (2007). The Impact of Electronic Media Violence: Scientific Theory and Research. Institute for Social Research. The University of Michigan, Ann Arbor, Michigan. Manuscript Received June 28, 2007, from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2704015/

Jennifer R. Gunderson. (2006). Impact of Real Life and Media Violence : Relationships between Violence Exposure, Aggression, Hostility, and Empathy Among High School Students and Detained Adolescents. The University of Toledo , December 2006 , from : https://etd.ohiolink.edu/!etd.send_file?accession=toledo1166023506&disposition=inline

Nicholas L. Carnagey , Craig A. Anderson , Brad J. Bushman. (2006). The effect of video game violence on physiological desensitization to real-life violence. Journal of Experimental Social Psychology., Received 1 April 2005; revised 15 March

Nicholas L. Carnagey, Craig A. Anderson and Bruce D. Bartholow. (2007). Media Violence and Social Neuroscience : New Questions and New Opportunities. Association for Psychological Science. Volume 16—Number 4 Copyright @ 2007

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29