รูปแบบการบริหารการพัฒนาความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กรทิพย์ รัตนภุมมะ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • โกศล มีคุณ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นรา สมประสงค์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารินทร์ รสานนท์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารการพัฒนา, ความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์, นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร และสร้างรูปแบบการบริหารการพัฒนาความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์ของนิสิตนักศึกษากลุ่มดังกล่าว วิธีการวิจัย คือ วิธีเชิงปริมาณเสริมด้วยวิธีเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 505 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่าจำนวน 12 แบบวัด มีค่าความเที่ยง (a) ตั้งแต่ .532 ถึง .884 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุ 3 กลุ่มรวม 12 ตัวแปร ร่วมกันอธิบายจิตลักษณะเอื้ออาทร และสมานฉันท์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 40.9 ในขณะที่กลุ่มตัวแปรดังกล่าวร่วมกันอธิบายพฤติกรรมเอื้ออาทร และสมานฉันท์ของนิสิตนักศึกษาได้ร้อยละ 50.4 รูปแบบการบริหารการพัฒนาความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานครที่ได้สร้างขึ้นจากการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุเสริมด้วยข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญผ่านเกณฑ์การประเมินรายด้านและโดยรวมที่กำหนดไว้ร้อยละ 70/75

References

จิราพร เซ็นหอม. (2562). การบริหารรูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองของนักเรียนการศึกษานอกโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2558). ปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 21 (1), น. 75-94.

นักสิทธ์ ศักดาพัฒน์ และดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2563). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาโท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (1), น. 389-403.

พนิตา รวมธรรม ชวนชัย เชื้อสาธุชน และเชาวน์ประภา เชื้อสาธุชน. (2559). ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรักความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 5 (2), น. 38-47.

พระเมธาวินัยรส (ปสิวิโก) พระมหาวีระศักดิ์ สุรเมธี และสาลินี รักกตัญญู. (2560). รูปแบบการส่งเสริมความปรองดองและสันติสุขด้วยศีล 5 ของประชาชนในจังหวัดสระบุรี. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5 (1), น. 1-13.

พิพัฒน์ ศรไพบูลย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

เยาวลักษณ์ เตียวิลัย ดุจเดือน พันธุมนาวิน ดวงเดือน พันธุมนาวิน งามตา วนินทานนท์. (2561). ปัจจัยเชิงเหตุทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสื่อสารอย่างเคารพสิทธิผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 24 (2), น. 21-41.

วันชนะ กลั่นพรมสุวรรณ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีปรองดองเพื่อการปฏิรูปประเทศสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน. วิทยาลัยการ ทัพบก.

วันทนา วัฒนธรรม. (2557). ปัจจัยทางจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการ ทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพนักงานเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2554). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีสัมพันธ์กับชาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและการ จัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศุภรางค์ อินทุณห์ งามตา วนินทานนท์ และจรัล อุ่นฐิติวัฒน์. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุทางจิตสังคม และปัจจัยเชิงผลด้านการจัดการกับความเครียดของพฤติกรรมรักการอ่านในนักเรียนวัยรุ่น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 2 (1), น. 1-17.

สรายุทธ วรเวก. (2562). รูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). ค้นเมื่อ 18 มิถุยายน 2564, จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/Ebook/NationalStrategy/book.html.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2562). บัณฑิตพันธ์ใหม่: จี้อุดมศึกษาเร่งปรับตัวปั้นคนไทยทักษะสูง. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563, จากhttps://www.nxtgenhe.com/news/news001

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). รายงานการศึกษาการป้องกันแก้ไขปัญหาทางสังคมแต่ละกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29