รูปแบบการถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้จากประสบการณ์ทำงานสำหรับเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรมในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วสุรัตน์ ด้วงสุวรรณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ
  • บุญชู สงวนความดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ
  • พิสิษฐ์ ศรีอพิชัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ

คำสำคัญ:

ถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้ประสบการณ์ทำงาน, ความภาคภูมิใจในตนเอง, เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลทักษะ องค์ความรู้ ประสบการณ์ของผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้จากประสบการณ์ทำงานสำหรับเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของผู้เกษียณอายุ (3) เพื่อศึกษาการนำเสนอรูปแบบการถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้จากประสบการณ์ทำงานสำหรับเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของผู้เกษียณอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้เกษียณอายุและผู้เกษียณอายุที่ได้รับการจ้างต่อ จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์โดยการใช้เทคนิควิธีสังเคราะห์ (Content Aanlaysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นคนงานหญิง การศึกษามัธยมศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน 16-20 ปี มีรายได้กองทุนประกันสังคม กิจกรรมที่ทำหลังเกษียณงาน คือ จิตอาสาช่วยเหลือสังคมเคยนำทักษะองค์ความรู้จากประสบการณ์ทำงานมาถ่ายทอดเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเอง และมีระดับความคิดเห็นด้านทักษะ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.43)) ด้านความภาคภูมิใจ อยู่ในระดับมาก ( =3.52) ด้านกระบวนการสร้างความภาคภูมิใจ อยู่ในระดับมาก ( =3.56) และด้านช่องทางสร้างความภาคภูมิใจอยู่ในระดับมาก ( =3.77) 2) ส่วนแนวทางการถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้จากประสบการณ์ทำงาน ได้แก่ การมีทักษะ องค์ความรู้ และประสบการณ์เชิงประจักษ์และมีช่องทางถ่ายทอดทักษะ องค์ความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสม และ 3) รูปแบบการถ่ายทอดทำงานสำหรับเสริมสร้างความภาคภูมิใจ ได้แก่ รูปแบบการใช้เทคนิควิธีถ่ายทอดจากประสบการณ์โดยตรง

References

โชสิตา สิงหาเทพ. (2561). รายงานวิจัยเรื่องบทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ประภาส ณ พิกุล. (2551). ความภาคภูมิใจในตนเองและการสร้างโมเดลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พลอยพัชร์ กิจเจริญเกษม. (2561). การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

วนิดา ธนากรกุล และคณะ. (2561). รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกผ่านนิทรรศการ. วารสาร R2R มหาวิทยาลัยรมหิดล. 5 (1), 19-25.

ศศนันท์ วิวัฒนชาต และคณะ. (2558). รายงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความสุขในการทำงานของพนักงานก่อนวัยเกษียณอายุ ในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ศูนย์สารสนเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2560). ข้อมูลโรงงานตามรายภาค. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. (2561, 12 ตุลาคม). การเกษียณอายุภาคอุตสาหกรรมภาคเอกชน. หนังสือพิมพ์มติชน. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562,จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_823471.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: สำนักสถิติพยากรณ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Best, W. John. (1997). Research in Education. ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hell, Inc.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Takeuchi. (1995). โมเดลการจัดการความรู้ (SECI Model). ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2562 จากhttp://welcome2km.blogspot.com/p/seci-model-nonaka-takeuchi/1995-tacit.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28