การพัฒนาแอปพลิเคชันโมเดล 3 มิติ เพื่อการเรียนรู้อุปกรณ์พื้นฐานห้องปฏิบัติการเคมีด้วยเทคนิคความจริงเสริม

ผู้แต่ง

  • นวิน ครุธวีร์ คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พรชนก ชโลปกรณ์ สาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • กิตติพงษ์ แก้วประเสริฐ คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สิทธิพงศ์ พรอุดทรัพย์ คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการเคมี โมเดล 3 มิติ, เทคโนโลยีความจริงเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบแอปพลิเคชันโมเดล 3 มิติ เพื่อการเรียนรู้อุปกรณ์พื้นฐานห้องปฏิบัติการเคมีด้วยเทคนิคความเป็นจริงเสริม 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันโมเดล 3 มิติ เพื่อการเรียนรู้อุปกรณ์พื้นฐานห้องปฏิบัติการเคมีด้วยเทคนิคความเป็นจริงเสริม สำหรับการเรียนรู้รายวิชาเคมี 3) เพื่อวัดประสิทธิภาพแอปพลิเคชันโมเดล 3 มิติ เพื่อการเรียนรู้อุปกรณ์พื้นฐานห้องปฏิบัติการเคมีด้วยเทคนิคความเป็นจริงเสริม ขอบเขตของงานวิจัย คือ ขอบเขตด้านอุปกรณ์พื้นฐานในห้องปฏิบัติการเคมี จำนวน 40 ชิ้น แยกเป็น 2 กลุ่ม อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการทำปฏิบัติการเคมี จำนวน 6 ชิ้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 34 ชิ้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับพัฒนาระบบภาษาซี โปรแกรมเครื่องมือที่ใช้พัฒนา ยูนิตี้ทรีดี และโปรแกรมฐานข้อมูลเอสคิวแอลไลท์ เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพและวัดความพึงพอใจของแอปพลิเคชัน คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผู้ใช้ จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ใชการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการออกแบบแอปพลิเคชันและคู่มือการใช้งานสามารถทำได้ตามความต้องการของผู้ใช้ 2) ผลการออกแบบพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถทำได้ตามขอบเขตการวิจัยที่ได้กำหนดไว้ และ 3) ผลการหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยผู้ใช้ จำนวน 50 คน พบว่า ผลประเมินประสิทธิภาพของการใช้งานแอปพลิเคชันโมเดล 3 มิติ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 และผลประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65

References

ดุสิต ขาวเหลือง และ อภิชาติ อนุกูลเวช. (2561). โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาและแผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี

พงษ์กานต์ อุทะโก. (2559).ความเป็นจริงเสมือน เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. ค้นเมื่อ 9กรกฎาคม 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/2865

วสันต์ เกียรติแสงทอง และคณะ. (2552). การศึกษาเทคโนโลยีออคเมนต์เตดเรียลริตี้ กรณีศึกษาพัฒนาเกมส์ “เมมการ์ด”. สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคร
รินทรวิโรฒ.

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ. (2556). แผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563, จาก http://www.swpark.or.th/sdlcproject/index.php/14-sample-data-articles/87-2013-08-09-08-39-48

สุทธิภัทร ล้อสกุลกานนท์. (2558). ระบบผสมผสานโลกจริงกับโลกเสมือนสำหรับการนำเสนอแบบมีปฏิสัมพันธ์กับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร. คณะสถาปัจยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Bruno Rogério da Silva. (2019). Nuevas Ideas en Informática Educativa, Volumen 15, p. 71 - 77. Santiago de Chile.

K.Pair. (2018). Likert Scale คืออะไร?. ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2562, จาก https://greedisgoods.com/likert-scale-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

Kendall, K. E. & Kendall, J. (2019). Systems Analysis and Design, Prentice Hall

Kumar. (2014). AN IMPROVED TRACKING USING IMU AND VISION FUSION FOR MOBILE AUGMENTED REALITY APPLICATIONS.The International Journal of Multimedia & Its Applications (IJMA) Vol.6, (5), p.12-29

Manuel Alonso-Ros. (2020). An IoT Based Mobile Augmented Reality Application for Energy Visualization in Buildings Environments. Appl. Sci. 2020, 10, p.600

Ming Xu, XinChun Yin, Jing Rong. (2013). Researchment and Realization Based on Android Database Application Technology. Retrieved August 12, 2020, from http://www.atlantis-press.com/php/download_paper.php?id=5852

Nurpandi, Finsa. (2018). Augmented Reality Chemical Reaction with User-Centered Design. MATEC Web of Conferences.

swpark. (2556). แผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560, จาก http://www.swpark.or.th/sdlcproject/index.php/14-sample-data-articles/87-2013-08-09-08-39-48

Wagner, Daniel & Reitmayr, Gerhard & Mulloni, Alessandro & Drummond, Tom & Schmalstieg, Dieter. (2010). Real-Time Detection and Tracking for Augmented Reality on Mobile Phones. IEEE transactions on visualization and computer graphics.

Wonderful of Virtual Reality. (2559). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน. Retrieved July 9, 2020, from https://sites.google.com/a/bumail.net/virtual-eality/home/type-of-trainings

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28