การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมสำหรับครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, การออกแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์, การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 80 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความสอดคล้องเหมาะสมของหลักสูตร แบบทดสอบ แบบประเมินความพึงพอใจที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตร พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วย7 องค์ประกอบได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) โครงสร้าง (4) เนื้อหา (5) วิธีดำเนินกิจกรรมการสอน (6) สื่อการสอน/แหล่งเรียนรู้ (7) การประเมินผลและตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70,S.D. = 0.06) และมีประสิทธิภาพภาคสนามเท่ากับ 82.60/92.60 สูงตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นพบว่า ความสามารถในการออกแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมของครูผู้เข้ารับการอบรมหลักอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูมีพัฒนาการความสามารถในการออกแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมสูงขึ้น และมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนของครูที่ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และชุมชนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้(Theories and development instructional model).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอสพริ้นติ้งไทย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558).การเรียนรู้โดยการบริการสังคม Service Learning.วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 2(1),น.10
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะ ตามหลักการเรียนรู้แบบรับใช้สังคมสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 5(2),น.133
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553).แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
อรุณรุ่ง โยธสิงห์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Adam, R.E. Dacum. (1972). Approach to Curriculum, Learning and Evaluation in Occupation Training. Ottawa: Nova Scottia New Start, Inc.,
Erickson,J.A., and Anderson,J.B.(1997). Learning with The Community Concepts and Models for Service Learning in Teacher Education. Washington D.C.: American
Association for Higher Education.
Billing, S.H. (2006). Lessons from Research on Teaching and Learning : Service- Learning as effective instruction. New York: State Farm Companies Foundation.
Kruse, Kevin. (2004). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. Retrieved October6,2019.from http://www.E-arningguru.com/articles/art2_1.htm.
Peter, E. Oliva. (2009). Developing the Curriculum. Boston: Pearson Education Inc.
Scott, V.G. (2006). Incorporation Service Learning into your Special Education Program. in Intervention in School and Clinic.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว