การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี โดยการใช้วิธี Micro Teaching และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังโดยการใช้วิธี Micro Teaching และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยการใช้วิธี Micro Teaching และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบทดสอบวัดทักษะภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) การเปรียบเทียบความสามารถทักษะภาษาอังกฤษด้วยการใช้การทดสอบก่อนและหลังการใช้วิธี Micro Teaching และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้นักศึกษามีความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
ชนากานต์ จิตรมะโน. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีการเกษตร สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. Active Learning Instruction in English for Agricultural Technology for Diploma Students.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 13). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. (2554). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรการผลิตครูในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(3), น.25.
เดชดนัย จุ้ยชุ่ม, เกษรา บ่าวแช่มช้อย และศิริกัญญา แก่นทอง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชา ทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ประจำภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
นวรัตน์ สมนาม. (2546). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์. สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2551). การสอนแบบจุลภาค. กรงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สระแก้ว:คณะเทคโนโลยี การเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2555). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ, ธารณา สุวรรณเจริญ และชลชลิตา แตงนารา.(2560). ผลการใช้การเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.
รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4 (น.562 - 570).กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อาพันธ์ชนก สวนจันทร์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางน้อย (แจ่มประชานุกูล). วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report, Washington DC: School of
Education and Human Development, George Washington University.
Hoy, W. K. & Miskel, C.G. (2010). Educational administration: Theory, research, and practice. (6 thed), Boston: McGraw - Hall.
Laghos, A., & Zaphiris, P. (2009). Computer Assisted Aided Language Learning. United Kingdom. City University.
Slavin, Robert E. (1990). Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. New Jersey : Prentice - Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว