แนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ วิชาชีพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประชุมกลุ่มเพื่อพัฒนาแนวทางการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครูฯ ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูฯ และขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในหมวดการประสบการณ์วิชาชีพ (รายวิชา การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2) ในภาคเรียนที่ 2/2560 จำนวน 1 สาขาวิชามีนักศึกษา 60 คนและเลือกเป็นกรณีศึกษาในการวิจัยจำนวน 8 คน จากโรงเรียน เครือข่ายร่วมพัฒนาวิชาชีพครูจำนวน 4 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระบุปัญหา และ ระยะที่ 2 วงจรแก้ปัญหา (2) การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ พบว่า องค์ประกอบในชุมชนการเรียนรู้ มี 5 ด้าน และ (3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยใน ภาพรวมพบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
References
โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. (2554). เอกสารรายงานการศึกษาประกอบการศึกษา. ศึกษาสภาพการณ์ ความสำคัญจำเป็นในการปฏิรูป หลักสูตรผลิตครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2554). ทฤษฎีการเรียนรู้และสื่อความหมายกับสื่อการสอน. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2554, จากhttp://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/media/Learning%20%20 update_03042009.pdf.
ธันยพร บุญรักษา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบ การเรียนการสอนของนักศึกษา ปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา. รายงานการวิจัย ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรลักษณ์ ชูกําเนิด เอกรินทร์ สังข์ทอง และชวลิต เกิดทิพย์. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 12(2), น. 123-134.
สมุทร สมปอง. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในโรงเรียนประถมศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุชีรา มะหิเมือง และคณะ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาโมเดลการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพครูเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Allen, D. (2013). Reconstruction Professional Learning Community as Collective Creation. Retrieved September 13, 2015, from http://edr.sagepub.com/content/41/1/26.abstract
Dufour, R. (2007). Professional Learning Communities: A Bandwagon, an Idea Worth Considering, or Our Best Hope for High Levels of Learning? Middle School Journal. 39(1), 4-8.
Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2009). Guiding Professional Learning Communities: Inspiration, Challenge, Surprise, and Meaning. Thousand Oaks, CA : Corwin.
______. (2010). Guiding Professional Learning Communities. Thousand Oaks, CA: Corwin.
Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2012). Guiding Professional Learning Communities: Inspiration, Challenge, Surprise, and Meaning. Thousand Oaks, CA : Corwin.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. (pp. 90-95). Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.
Martin, M. (2011). Professional Learning Communities. In Contemporary Issues in Learning and Teaching. London: SAGE Publication Ltd
Morrissey, M.S. (2000). Professional Learning Communities: An Ongoing Exploration. Austin, Texas: Southwest Educational Development Laboratory.
Richey, R. C., Klein, J. D., & Tracey, M. W. (2011). The Instructional Design Knowledge Base : Theory, Research, and Practice. New York: Routledge.
Wong, J.L.(2010). What Makes a Professional Learning Communities Possible? A Case Study of a Mathematics Department in a Junior Secondary School of China. Asia Pacific Education Review. 11(2), pp. 131-139.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว