ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก บรรยากาศองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากร ฝ่ายปฏิบัติการขนส่งทรัพย์สินธุรกิจธนาคาร

ผู้แต่ง

  • ปัญญ์กณิฐ เนรมิตตกพงศ์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อริสา สำรอง อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัชชามน เปรมปลื้ม อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสร้างนวัตกรรม, ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, บรรยากาศองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรม สร้างนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากรฝ่ายปฏิบัติการขนส่งทรัพย์สินธุรกิจธนาคาร มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อายุงาน (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก บรรยากาศองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการท ำงาน (3) เพื่อทำนายพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน โดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก และบรรยากาศองค์การ เป็นตัวทำนายกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรฝ่ายปฏิบัติ การขนส่งทรัพย์สินธุรกิจธนาคาร จำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ (1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก (3) แบบสอบถามเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ (4) แบบสอบถาม พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้าน สังคมศาสตร์เพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test วิเคราะห์ หาค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า บุคลากร ฝ่ายปฏิบัติการขนส่งทรัพย์สินธุรกิจธนาคาร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 64.6 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีจำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 49.7 ส่วนใหญ่มีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป จำนวน 180 คน คิดเป็นร้อยละ 57.3 และพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน ทุนจิตวิทยาเชิงบวก บรรยากาศองค์การ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก บรรยากาศองค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม สร้างนวัตกรรมในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรม สร้างนวัตกรรมในการทำงาน ได้ร้อยละ 58.8 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.439 และ 0.423 ตามลำดับ

References

กนกพร ตั้งมนัสไชยสกุล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารในสายอาชีพวิศวกรรม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

กัลยาภรณ์ ดารากร ณ อยุธยา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำวัฒนธรรมองค์การ กับความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์ในเขตจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จันจีรา โสะประจิน. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ : กรณีศึกษา บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา การจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จารุวัฒน์ ต่ายเทศ. (2557). บรรยากาศองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์กร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 10(4), น. 9-21.

จำเริ ญดวงงามยิ่ง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรั บรู้ความสามารถของตนเอง ความฉลาดทางจริ ยธรรมและพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมสร้างสรรค์ของข้าราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นัฐกานต์ ฐิติจำเริญพร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงานองค์การธุรกิจ ของบริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

รวินท์ ศรีอริยวัฒน์. (2561). Bank 4.0 ปฏิวัติวงการธนาคาร โดยนักอนาคตวิทยา Brett King. Tech Saucier of the year 2018 by Tech & Biz Ecosytem leader. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/bank-4-0

เลิศศักดิ์ ทาระธรรม. (2553). การฟังเพลงที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานในเครือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัย

ศรสวรรค์ อ้นขวัญเมือง. (2558). ทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อองค์การกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อำพร พันมะณี. (2562). ปัจจัยด้านองค์กรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

Avey, J. B., Luthans, F. & Youssef, C. M. (2010). The Additive Value of Psychological Capital in Predicting Workplace Attitude and Behaviors. Journal of Management. 36(2), pp. 430-452.

Jong, D. (2007). Individual Innovation: the Connection Between Leadership and Employees’ Innovative Work Behavior. Dissertation Faculty of Economics and Business, The Institutional Repository of the University of Amsterdam.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. & Donnelly, J. H. (1997). Organization: Behavior Structure Process. (9th ed.) Texas: Business Publication.

Kleysen, R. F. & Street, C. (2001). Towards a Multi-dimensional measure of individual innovative behavior. Journal of Intellectual Capital. 2(3), pp. 284-296.

Luthans, F., Avolio, B. J., Avey, J. B., & Norman, S. M. (2007). Psychological Capital: Developing the Human Competitive Edge. New York, NY: Oxford University Press.

Michael A. C. & Barbara L. F. (2010). In search of durable positive psychology interventions: Predictors and consequences of long-term positive behavior change. [Electronic version]. The Journal of Positive Psychology. 5(17), p. 164.

Parker, S. K., Williams, H. M., & Turner, N. (2006). Modeling the Antecedentsof Proactive Behavior at Work. Journal of Applied Psychology. 91(3), pp. 636-652.

Seligman, M., Snyder, C. R., & Lopez, L. S. (2007). Positive Psychology: The Scientific and Practical Explorations of Human Strengths. (4 th ed.). Thousand Oaks, CA, US: Sage Publications, Inc.

Stringer, R. (2002). Leadership and Organizational Climate. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-15