รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ ของสตรีอีสานผ่านการชมหนังกลางแปลง

ผู้แต่ง

  • ชนิดา จันทร์งาม สาขาวิชานาฏยศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นราพงษ์ จรัสศรี ย์สาขาวิชานาฏยศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สตรีอีสาน, นาฏยศิลป์สร้างสรรค์, หนังกลางแปลง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส ่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฏีบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบ การสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีอีสานผ่านการชมหนังกลางแปลงโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มสตรีอีสาน จำนวน 30 คน การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย จำนวน 20 คนการสังเกตการณ์การสัมมนาเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน สื่อสารสนเทศและประสบการณ์ของผู้วิจัยแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีอีสานผ่านการชมหนังกลางแปลง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์ครั้งนี้สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดง 8 องค์ประกอบ คือ 1) บทการแสดงที่นำเค้าโครงจากเรื่องจริงของสตรีอีสาน 2) การออกแบบลีลาการเคลื่อนไหว โดยใช้ทั้งลีลานาฏยศิลป์พื้นบ้านอีสาน นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่และการแสดง 3) การคัดเลือกนักแสดง โดยใช้นักแสดงหญิงชาวอีสานที่มีทักษะด้านการพูดภาษาพื้นถิ่น ทักษะการแสดงด้านการละครและทักษะทางด้านนาฏยศิลป์4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย ใช้เครื่องแต่งกายพื้นบ้านอีสานและการแต่งกายในชีวิตประจำวันที่มีความเรียบง่าย 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง มีการใช้เสื่อเพื่อกำหนดพื้นที่การแสดงและใช้อุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน 6) การออกแบบดนตรีและเสียงประกอบการแสดง ใช้วงดนตรีพื้นบ้านอีสานเสียงสนทนาและเสียงบรรยาย7)การออกแบบสถานที่จัดแสดงในโรงละครที่มีพื้นที่ว่างเปล่าโดยใช้หนังกลางแปลงเป็นฉากประกอบการแสดง 8) การออกแบบแสง ใช้แสงเพื่อสื่ออารมณ์ของตัวละครให้มีความชัดเจนขึ้น

References

กฤต โสดาลี. (2560). กระบวนทัศน์สตรีตามจารีต. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 4 (2), หน้า 136.

กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). งานฉากละคร 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญชนก โชติมุกตะ. (2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์สะท้อนความกดดันที่นำไปสู่การเป็นฆาตกร.
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานาฏยศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิณฑ์จุฑา สุวรรณ์คัมภีระ. (2553). ดีดไห : การวิเคราะห์นาฏศิลป์ไทยพื้นบ้านอีสาน. ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อ่าน.

บรรจง โกศัลวัฒน์. (2544) การกำกับและการแสดงภาพยนตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พฤทธิ์ศุภ เศรษฐสิริ. (2555). ภาพยนตร์ตลก : กรณีศึกษาภาพยนตร์ตลกของไทยในช่วงปี 2548-2552.
กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ณัฏฐธิดา จันเทร์มะ. (2559). การสร้างอัตลักษณ์อีสานผ่านภาพยนตร์สั้นในเทศกาลภาพยนตร์อีสาน.
ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐคม แช่มเย็น. (2559). การวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานออกแบบฉากละครเวทีเรื่องคำพิพากษาของชาติ
กอบจิตติ. ศิลปกรรมสาร. 11 (2), หน้า 52.

ภัทรนันท์ ไวทยะสิน. (2561). การวิเคราะห์บทภาพยนตร์ : สุนทรียภาพในการสร้างสรรค์อุตสาหกรรม
ภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6 (2), หน้า 274.

รัตนาภรณ์สวยกลาง และคณะ. (2557). การสร้างความหมายเชิงสัญญะในบทภาพยนตร์เรื่อง แหยมยโสธร.
วารสารช่อพะยอม. 25 (1), หน้า 34.

ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย. (2552). การออกแบบสารด้วยแสงในการสร้างสรรค์การแสดงโขนร่วมสมัย.
ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย

สุเมธ แก่นมณีและคณะ. (2546). การพัฒนายุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads