รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจการ อาหารไทยและนานาชาติ
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์, ธุรกิจอาหารไทย, อาหารนานาชาติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานงานประชาสัมพันธ์และบริบทของวิทยาลัย เทคโนโลยีธุรกิจการอาหารไทยและนานาชาติและ2)ศึกษารูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจการอาหารไทยและนานาชาติประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจการอาหารไทยและนานาชาติจำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่แบบการจำแนกข้อมูล(Typological Analysis)และค่าร้อยละผลการวิจัยพบว่า1)วิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจการอาหารไทยและนานาชาติได้มีนโยบายการวางแผนการกำหนดจุดหมายของหน่วยงาน แนวทางปฏิบัติงาน การจัดองค์การการจัดบุคลากรเข้าทำงาน การอำนวยการการจัดงบประมาณ การประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก มีการรายงานผลการปฏิบัติงานในช่วง เวลาของโครงการและสถาบันได้มีการประเมินผลงานติดตามผลงานประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาในทุกๆไตรมาส2)รูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ใช้สื่อบุคคลเฉพาะผู้บริหารวิทยาลัยและคณาจารย์โดยประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์การแนะแนวการศึกษาตามโรงเรียน สื่อสิ่งพิมพ์โดยผ่านคอลัมน์ของนิตยสารFood newsสื่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบัน LineและFacebook สื่อมวลชนมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุการจัดนิทรรศการร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งกิจกรรมของชุมชนในช่วงวันสำคัญ และช่วงปิดภาคเรียน การประชาสัมพันธ์ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีให้กับทางวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจอาหารไทยและนานาชาติ
References
มหาวิทยาลัย.
ชัยนันท์ นันทพันธ์. (2532). ประชาสัมพันธ์อย่างไรจึงได้ผล. กรุงเทพมหานคร : บางกะปิกราฟฟิค.
ดวงพร คำนูญรัตน์และวาสนา จันทร์สว่าง. (2541). การสื่อสาร: การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศาสตร์ ตั้งปฐมวงศ์. (2544). รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมของโครงการรัฐประศาสน
ศาสตรมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา ณ กรุงเทพมหานคร. การศึกษา
ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.
มารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์. (2554). การศึกษาแรงจูงใจของประชาชนต่อการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตร
ระยะสั้นด้านอาหาร และเบเกอรี่ของโรงเรียนธุรกิจการอาหารไทย และนานาชาติ. ปริญญาศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.
วิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจการอาหารไทย และนานาชาติ. (ม.ป.ป.). สถาบันศิลปศาสตร์การอาหาร
(ICA - INSTITUTE OF CULINARY ART) โรงเรียนธุรกิจการอาหารไทย และนานาชาติ
(TIFA-THAI & INTERNATIONAL FOOD ACADEMY) ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2559, จาก
http://www.yingsakfood.com.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ PUBLIC RELATIONS. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Anderson, P.M. and Rubin, L.G. (1986). Marketing Communication. N.P. : Prentice - Hall.
Barnard, C.I. (1972). The Functions of the Executive. (13th ed.) Massachusetts :
Twenty - second.
David, K. Berlo. (1960). The Process of Communication. New York : The Free Press.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว