ผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสืบค้น สารสนเทศ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี
คำสำคัญ:
เครือข่ายสังคมออนไลน์, ทักษะการสืบค้นสารสนเทศ, นักศึกษาคณะครุศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการสืบค้นสารสนเทศรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษาหลังการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และเปรียบเทียบทักษะการสืบค้นสารสนเทศ รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาก ่อนและหลังการใช้เครือข ่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2558จำนวน 56คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินทักษะการสืบค้นสารสนเทศวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า ทักษะการสืบค้นสารสนเทศของนักศึกษาคณะครุศาสตร์สาขาการศึกษาปฐมวัยก่อนเรียนภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.47เมื่อได้มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสืบค้นสารสนเทศรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาแล้วพบว่าทักษะการสืบค้นสารสนเทศของนักศึกษาครูหลังเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21ซึ่งคะแนนทักษะการสืบค้นสารสนเทศเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย ICT 2020. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร.
ต้องการ แก้วเฉลิมทอง และชวน จันทวาลย์. (2555). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารทางสังคม
ของผู้เรียนเพื่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับการศึกษา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ
วิศวศึกษา ครั้งที่ 10 “วิศวศึกษาเพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”The10ThInternationaland
National Conference on Engineering Education “Engineering Education for ASEAN
Economic Community”. (หน้า 53-55). เพชรบุรี: สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
แห่งประเทศไทยสมัยที่ 34 ณ โรงแรมดุสิตธานีหัวหิน, 9-11 พฤษภาคม 2555.
นงเยาว์อุทุมพร. (2556) กระบวนการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลและตั้งโจทย์วิจัย ของนักศึกษา
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัย
ราชภัฏธนบุรี7 (1), หน้า 11-22.
วิจารณ์พานิช. (2547).การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่. เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ
ในการประชุมกรมการจังหวัดนครศรีธรรมราช. (หน้า 8). นครศรีธรรมราช : สถาบันส่งเสริมการ
จัดการเรียนรู้เพื่อสังคม (สคส.) ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 29 มกราคม 2547.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Foster, Allen. (2004). A Nonlinear Model of Information-Seeking Behavior. JOURNAL OF
THE AMERICAN SOCIETY FOR INFORMATION SCIENCE AND TECHNOLOGY,
55(3), pp. 228–237.
Ford, D.P., & Steples, S. (2010). Are full and partial knowledge sharing the same?. Journal
of knowledge Management. 14(3), pp. 394-409.
Rising up! Thailand Social Media Growth in ACE. (2015). ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558,
จาก http://thothzocial.com/facebook_ population_2015/
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว