ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ, การบริหารงานโรงเรียน, แรงจูงใจในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนของครูในกลุ่ม โรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่1สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครและ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารงานโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในกลุ ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาพรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากมาหาน้อย ได้แก่ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคลากร ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารทั่วไป 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากมาหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ตามลำดับ 3) ความคิดเห็นระหว่างการบริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.801) มีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01
References
ในอำเภอหนองม่วงไข่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชานน ตรงดี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงาน
ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุดรธานี.
นงนารถ โซ๊ะมณี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ฐานอำนาจของผู้อำนวยการโรงเรียนกับแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ฉะเชิงเทรา เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปภังกร หัสดี. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
กับการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหาร
การศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
พิทักษ์ อุดมชัย. (2552). หน้าที่ทางการบริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. (2542, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119
ตอนที่ 123 ก, 2
พสุ เดชะรินทร์. (2554). ศูนย์รวมเว็บไทย.ค้นเมื่อ9กันยายน 2555,จากhtt://weerapong1974. igetweb./
index.php?mo=3&art=628456
รุจิภาส คำแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมคุณธรรมและพฤติกรรมการบริหารงาน
ของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วันทนีย์ มนูทัศน์. (2554). การวางแผนบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Kreicie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement. 30 pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว