การศึกษาโปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียน: กรณีศึกษา นักศึกษาที่มี ปัญหาทางการเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ผู้แต่ง

  • ณัฐรินทร์ แซ่จุง คณะครุศาสตร์สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ยุวดี วิริยางกูร คณะศึกษาศาสตร์สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การออกกลางคัน, โปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียน, นักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของ นักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียน และ 2) ศึกษา ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนต่อโปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาที่มีปัญหาด้านการเรียน จำนวน 14 คน โดยการเลือก แบบเจาะจงเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย1) โปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียน และ2)แบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับโปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียน สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรมช่วยเหลือด้าน การเรียนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ นักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนมีความคิดเห็นต่อโปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียนในระดับดีนอกจากนั้น นักศึกษาเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือด้วยโปรแกรมช่วยเหลือด้านการเรียน ทำให้ตนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้น มีเจตคติทางบวกต่อการเรียน มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางบวก สัมพันธภาพ กับเพื่อนในชั้นเรียนดีขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). จำนวนและร้อยละของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนก
ตามชั้นและระดับการศึกษา ในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาคปีการศึกษา 2551. ค้นเมื่อ 29
ธันวาคม 2554,จากhttp://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/ministry%20
law/1-42%20handicap%20MoE.pdf

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2554). สำนักงานสภามหาวิทยาลัย. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2554 จาก
http://web.skru.ac.th/web_gathar/main_page/main.php?type=20

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2547). การศึกษาการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปีการศึกษา 2543-2546. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2554 จาก http://department.utcc.ac.th/
research-c/images/stories/file/database/research/47/pdf/4709003T.pdf

สราวุฒิ สืบแย้ม. (2552).การศึกษาสาเหตุการออกกลางคัน และไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
ในหลักสูตรของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (การประชุมวิชาการวิศวศึกษา ครั้งที่ 8 วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2552
โรงแรมเลอเมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่). ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.eng.
kmutnb.ac.th/home/images/stories/PDF/KM/21.pdf

Brinkerhoff, L. C., Shaw, S. F., & McGuire, J. M. (1993). Promoting Postsecondary Education
for Students with Learning Disabilities: A Handbook for Practitioners. Austin,
TX : Pro-ed.

Martin, E. J., Tobin, T. J., & Sugai, G. M. (2002). Current information on dropout
prevention: Ideas from practitioners and the literature. Preventing School Failure.
47 (1), pp. 10-17.

Mazzotti, V. L., Test, D. W., & Wood, C. L. (2012). Effects of multimedia goal-setting
instruction on students’ knowledge of the self-determined learning model of
instruction and disruptive behavior. Journal of Positive Behavior Interventions.
15 (2), pp. 90-102.

Morrison, J. L. (1973). Why the disadvantaged drop out: the administrator’s view.
College Student Journal. 42, pp. 447–451.

Sommer, M., & Dumont, K. (2011). Psychosocial factors predicting academic performance
of students at a historically disadvantaged university. South African Journal
of Psychology. 41 (3), pp. 386-395.

Stone, A. (1998). The metaphor of scaffolding: Its utility for the field of learning disabilities.
Journal of Learning Disabilities, 3 (4), pp. 344-364.

Tinto, V. (1996). Reconstructuring the first year of college. Planning for Higher Education,
25(1), pp.1-6.

. (2012). Enhancing student success : Taking the classroom success seriously.
International Journal of the First Year in Higher Education, 3 (1), pp. 1-8.

Universityof Delaware. (2017). Office of disability support services.Retrieved April.20,2017,
from http://sites.udel.edu/dss/students/accommodations/#Academic%20Aids

University of Idaho. (2015). Academic supports & access programs. Retrieved March.
20, 2015, from http://www.uidaho.edu/current-students/dss/assistive-technology.

University of Minnesota. (2013). Check & connect: A comprehensive student
engagement intervention.Retrieved April.20,2017, fromhttp://www.checkandconnect.
umn.edu/model/components_elements.html
University of Montana. (2017). Disability services for students. Retrieved April. 20, 2017,
from http://www.umt.edu/dss/

Virginia Commonwealth University. (2017). Disability support services. Retrieved April.
20, 2017, from https://students.vcu.edu/dss/who-we-are/

Downloads