การพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลข่าวสารและระบบส่งข้อความ แจ้งเตือนแบบพุชบนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

ผู้แต่ง

  • สิทธิพงศ์ พรอุดมทรัพย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • วาสนา เสนาะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • รณกร รัตนธรรมมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • นวิน ครุธทวีร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันข้อมูลข่าวสาร, ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์, การแจ้งเตือนแบบพุช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลข่าวสารและระบบส่งข้อมูล การแจ้งเตือนจากกูเกิลคลาวด์เมจเสจสู่อุปกรณ์สมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์รวมถึงทดลองใช้งาน และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน คณะผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ และแผนภาพยูเอ็มแอล เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ โปรแกรมที่ใช้พัฒนาระบบ บนเว็บไซต์ได้แก่โปรแกรมอาปาเช่ภาษาพีเอชพี โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลพีเอชพีมายแอดมิน ฐานข้อมูลมาย เอสคิวแอลโปรแกรมที่ใช้พัฒนาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้แก่โปรแกรมอีคลิปส์โปรแกรมเอดีทีและ ฐานข้อมูลเอสคิวแอลไลท์แอปพลิเคชันมีการแจ้งข่าวสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครไปยังนักศึกษาและ บุคลากร โดยอาศัยการทำงานของกูเกิลคลาวด์เมจเสจ ทำให้แอปพลิเคชันสามารถแจ้งเตือนแบบพุช ไปยัง อุปกรณ์สมาร์ทโฟนของผู้ใช้ได้เมื่อมีข่าวสารแจ้งไปยังผู้รับจะมีการแจ้งเตือนทันทีโดยไม่ต้องรอการร้องขอข้อมูล จากผู้ใช้จึงทำให้ไม่พลาดข่าวสาร ไม่มีค่าใช้จ่ายไม่จำกัดจำนวนผู้รับข่าวสารและแอปพลิเคชันสามารถค้นหา ตำแหน่งสถานที่ เบอร์โทรศัพท์ภายในของมหาวิทยาลัยคณะผู้วิจัยทำการทดลองใช้โดยเผยแพร่แอปพลิเคชัน ในกูเกิลเพลย์ ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดมาติดตั้ง จากการศึกษาความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถาม การทดลองกับ กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาและอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 51คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ สถิติพรรณนา พบว่าผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95

References

ภัคพล โพธิ์เหลือง. (2556). โปรแกรมส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2558, จาก http://www.sit.kmutt.ac.th/tqf/is_report/
pdf56/55441344.pdf.

ทินกร ก้อนสิงห์. (2553). ระบบส ่งข้อความผ ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แจ้งการเข้าชั้นเรียนและผลการเรียน
ของนักศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.4(1), หน้า15-23.

บุญชม ศรีสะอาด.(2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ศุภชัย สมพานิช. (2557). Professional Android Programming. กรุงเทพมหานคร : IDC PREMIER.

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ. (2556).แผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ. ค้นเมื่อ2สิงหาคม
2558, จาก http://www.swpark.or.th/sdlcproject/index.php/14sample-data-articles/
87-2013-08-09-08-39-48.

แอนนา พายุพัด. (2559).การวิเคราะห์และออกแบบระบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ
OTOP 3-5 ดาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10 (1), หน้า 45-58.

Chan Megan(2011), Google analytics.Retrieved August 22, 2015, from http://www.sjsu.edu/
cs100w/docs/yogashalabook.pdf.

Ma Li, Gu Lei, and Wang Jin. (2014), Research and Development of Mobile Application
for Android Platform.Retrieved August21,2015, fromhttp://www.sersc.org/journals/
IJMUE/vol9_no4_2014/20.pdf.

Priestley Mark. (2004). PRACTICAL OBJECT-ORIENTED DESIGN WITH UML (IE). 2nd ed.
New York: The McGraw-Hill Companies.

Xu Ming, Yin XinChun and Rong Jing. (2013). Researchment and Realization Based on
Android Database Application Technology. Retrieved August 23, 2015, from
http://www.atlantis-press.com/php/download_paper.php?id=5852.

Zeng Sih-Ting, Lee Ching-Min (2014). Personal emergency notification application
design for mobile devices. Retrieved September 15, 2015 from http://ieeexplore.
ieee.org/xpl/login.jsp?tp=&arnumber=6839378&url=http%3A%2F%2Fieeexplore.ieee.
org%2Fiel7%2F6826037%2F6839318%2F06839378.pdf%3Farnumber%3D6839378.

Downloads