การวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมการทำงานอย่างอุทิศตน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิพัฒน์ ศรไพบูลย์ สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • โกศล มีคุณ สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นรา สมประสงค์ สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารินทร์ รสานนท์ สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การสร้างเครื่องมือ, การประเมิน-ความตรง, การทำงานอย่างอุทิศตนของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ ่งสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงเพื่อวัดการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ โดยขั้นต้น ตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ทดลองใช้กับกลุ ่มตัวอย ่าง 40 คน คัดเลือกข้อความที่มีค่าอำนาจ จำแนกดี(r≥0.20) ต่อไป นำเครื่องมือวัดไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 300 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ 240 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า เครื่องมือวัดพฤติกรรมการทำงานอย่างอุทิศตน ของครู มี3 องค์ประกอบ 14 ตัวแปร ร้อยละการอธิบายรวม 52.99 เครื่องมือวัดทัศนคติต่อการทำงาน อย่างอุทิศตนของครู มี3 องค์ประกอบ 13 ตัวแปร ร้อยละการอธิบายรวม 61.43 เครื่องมือวัดความเชื่อ อำนาจในตนในการทำงานอย่างอุทิศตนของครูมี2 องค์ประกอบ 12 ตัวแปร ร้อยละการอธิบายรวม 52.38 และเครื่องมือวัดการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา มี2 องค์ประกอบ 15 ตัวแปร ร้อยละการอธิบายรวม 61.37 โมเดลองค์ประกอบของเครื่องมือวัดตัวแปรที่สร้างขึ้น ได้รับการยืนยัน ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันอันดับที่สอง จากข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา เป็น 0.88 0.77 0.64 และ 0.95 ตามลำดับ ในขั้นการตรวจสอบความตรง ทดลองใช้เครื่องมือดังกล่าวพร้อมกับ เครื่องมือวัดจิตลักษณะอื่นอีก 3 ประการ พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง โดยมีค่า r ตั้งแต่ 0.434 - 0.790 แสดงให้เห็นถึงความตรงเชิงลู่เข้า ของเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้น

References

จุไรลักษณ์ เหลียงกอบกิจ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การทุ่มเทในงาน และสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม.กรุงเทพมหานคร:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน และอัมพร ม้าคะนอง. (2547). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมการพัฒนานักเรียนของครูคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

นงลักษณ์วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2550). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2551).ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา : ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2536).การวิจัยเกี่ยวกับผู้บริหาร. ประมวลชุดวิชาการวิจัยและการบริหารการศึกษาหน่วยที่ 8-9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Aiken, L.R. (1996). Rating scales and checklists: Evaluation behavior, personality, and attitudes. New York: John Willy & Sons.

Audrey Amrein-Beardsley. (2007). Recruiting Expert Teacher into Hard-to-Staff Schools. Phi Delta Kappa. 89 (1), p.230.

Kay Hei-Lin Chu. (2008). A factorial validation of work value structure: Second-order Confirmatory Factor analysis and its implication. Tourism Management. 28, pp.320-330.

Kerlinger, F.N. & Lee, H.B. (2000). Foundationof behavioral research. Wadsworth Thomson Learning.

Kubany, E.S. & Haynes, S.N. (2001). Trauma-related Guilt inventory Manual. Los Angeles, CA: Western Psychological Services.

Leedy,P.D. & Ormrod, J.E. (1993).Practical research Planning and design. (8thed).Pearson Merill Prentice Hall.

Marsh, H.W. & Hocevar, D. (1985). Application of confirmatory factor analysis to the study of Self-concept: First and higher order factor models and their invariance across groups. Psychological Bulletin. 97 (3), pp.562-582.

Marsh, H.W. & Hocevar, D. (1988). A new, more powerful approach to multi trait-multi method Analysis: Application of second-order confirmatory factor analysis. Journal of Applied Psychology. 73 (1), pp.107-117.

Linn, R.L. (1989). Educational Measurement. New York: McMillan Publishing Company.

Milfont, T.L. & Duckitt, J. (2004). The structure of environment attitude: A first-and second-order Confirmatory factor analysis. Journal of Environmental Psychology. 24, pp.289-303.

Pereda, N., Arch, M., Pero, M., Guardia, J. & Forns, M. (2011). Assessing guilt after traumatic events: The Spanish adaptation of trauma-related guilt inventory. European Journal of Psychological Assessment, 27 (4), pp.251-257.

Simola, S.K., Barling, J. & Tuner, N. (2010). Transformational leadership and leader moral orientation: Contrasting an ethic of justice and ethic of care. The Leadership Quarterly. 21, pp.179-188.

Spielberger, C.D., Gorsuch, R.L. & Lushene, R.E. (1970). Manual for the State-Trait Anxiety Inventory. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Steiger, J.H. (1980). Tests for comparing elements of a correlation matrix. Psychological Bulletin. 87 (2), pp.245-251.

Van Scotter, J.R. & Motowidlo, S.J. (1996). Interpersonal facilitation and job dedication as separate facets of contextual performance. Journal of Applied Psychology. 81 (5), pp.525-531.

Downloads